ข้อสอบตำรวจที่ออกบ่อย รวมชุดที่ 3 (ธุรการ) มีแนว ภาวะผู้นำ 1. “ประธานกรรมการ” หมายความว่า ก. ประธาน ก.ตร. ข. ประธาน ก.ตช. ค. ประธานกรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติ ง. ประธาน ตร. 2. ผู้บังคับบัญชาข้าราชการตำรวจและรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการรองจากผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติหมายถึงผู้ใด ก. รอง ผบ.ตร. ข. จเรตำรวจแห่งชาติ ค. ผู้ช่วย ผบ.ตร. ง. ถูกทุกข้อ 3. ข้อใด เป็น คุณสมบัติ ของคณะกรรมการ ก.ต.ช. ผู้ทรงคุณวุฒิ ก. มีอายุไม่ต่ำกว่าสี่สิบปีบริบูรณ์ ข. ไม่เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา ข้าราชการการเมือง สมาชิกสภาท้องถิ่น ผู้บริหารท้องถิ่น หรือเป็นที่ปรึกษาของข้าราชการการเมืองหรือของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิกวุฒิสภาไม่ว่าจะมีค่าตอบแทนหรือไม่ก็ตาม ค. เลขาธิการพรรคไทยรักไทย ง. ถูกทุกข้อ 4. การแต่งตั้งยศตำรวจชั้นสัญญาบัตร ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎ ก.ตร. และให้ทำโดย ก. ประกาศสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ข. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี ค. ประกาศพระบรมราชโองการ ง. ประกาศราชกิจจานุเบกษา 5. ก.ตร. ผู้ทรงคุณวุฒิ ประเภทเคยรับราชการเป็นข้าราชการตำรวจจำนวนห้าคน ต้องเป็นผู้ซึ่งพ้นจากความเป็นข้าราชการตำรวจไปแล้ว ก. ไม่น้อยกว่าหนึ่งปี ข. ไม่น้อยกว่าสองปี ค. เกินหนึ่งปี ง. เกินสองปี 6. เพื่อรักษาความเที่ยงธรรมในการแต่งตั้งและโยกย้ายข้าราชการตำรวจ ให้ ก.ตร. ออกกฎ ก.ตร. กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการแต่งตั้งและโยกย้ายข้าราชการตำรวจไว้ให้ชัดเจนแน่นอน กฎ ก.ตร. ดังกล่าวให้มีผลใช้บังคับเมื่อ ก. พ้นกำหนดหกสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา ข. พ้นกำหนดหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา ค. พ้นกำหนดหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา ง. นับแต่วันถัดจากประกาศในราชกิจจานุเบกษา 7. กรรมการข้าราชการตำรวจผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา ๓๐ (๒) (ข) มีวิธีการคัดเลือกอย่างไร ก. ให้กรรมการข้าราชการตำรวจโดยตำแหน่งตามมาตรา ๓๐ (๑)เป็นผู้เลือก และให้เสนอขอความเห็นชอบจากผู้ได้รับเลือกเป็นกรรมการข้าราชการตำรวจผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา ๓๐ (๒) (ก) . ข. ให้กรรมการข้าราชการตำรวจโดยตำแหน่งตามมาตรา ๓๐ (๑) และผู้ได้รับเลือกเป็นกรรมการข้าราชการตำรวจผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา ๓๐ (๒) (ก) เป็นผู้เลือกตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎ ก.ตร. ค. ให้ผู้ได้รับเลือกเป็นกรรมการข้าราชการตำรวจผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา ๓๐ (๒) (ก)เป็นผู้เลือก และให้เสนอขอความเห็นชอบจาก กรรมการข้าราชการตำรวจโดยตำแหน่งตามมาตรา ๓๐ (๑). ง. ถูกทุกข้อ 8. “กองทุน” หมายความว่า ก. กองทุนเพื่อการสืบสวนคดีอาญา ข. กองทุนเพื่อการสอบสวนคดีอาญา ค. กองทุนเพื่อการสืบสวนและสอบสวนคดีอาญา ง. กองทุนเพื่อการสืบสวนสอบสวนและป้องกันปราบปรามคดีอาญา 9. กรณีที่ ก.ต.ช. เห็นว่ามีความจำเป็นเพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติหน้าที่ ก.ต.ช. จะกำหนดให้ข้าราชการตำรวจต้องปฏิบัติหน้าที่ตามวันหยุดราชการตามที่คณะรัฐมนตรีกำหนดก็ได้หรือไม่ ก. ได้ แต่ต้องได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี ข. ได้ ไม่ต้องขออนุมัติผู้ใด ค. ไม่ได้ เพราะขัดต่อมติของคณะรัฐมนตรีที่ทุกส่วนราชการต้องถือปฏิบัติตาม ง. ไม่ได้ เพราะเป็นการขัดต่อสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชนตามรัฐธรรมนูญ 10. บุคคลใด ไม่ใช่ คณะกรรมการ ก.ต.ช. โดยตำแหน่ง ก. นายจรัญ ภักดีธนากุล ข. นายพงศ์โพยม วาศภูติ ค. พล.ต.อ.โกวิท วัฒนะ ง. พล.ต.อ.เสรีพิศุทธิ์ เตมียาเวส 11. งานสารบรรณมีประโยชน์ต่อราชการอย่างไร ก.ทำให้งานสะดวก รวดเร็ว ข.ประหยัดแรงงานและเวลา ค.ทำให้การปฏิบัติงานมีประสิทธิภาพสูง ง.ถูกทุกข้อ 12. หนังสือราชการที่มีคำว่า “ด่วนมาก” ผู้มีหน้าที่ดำเนินการจะต้องปฏิบัติอย่างไร ก.ปฏิบัติตามกำหนดเวลา ข.ปฏิบัติโดยเร็ว ค.ปฏิบัติโดยเร็วกว่าปกติ ง.ปฏิบัติโดยเร็วที่สุด 13. ตามระเบียบงานสารบรรณ หนังสือราชการที่จัดทำขึ้นจะต้องทำ……..อย่างน้อย 1 ฉบับ ก.สำเนาต้นฉบับ ข.สำเนาคู่ฉบับ ค.สำเนาซ้ำฉบับ ง.ไม่ใช่ทั้ง ก. ข. และ ค. 14. หนังสือที่มีไปมา ระหว่างส่วนราชการ หรือส่วนราชการมีถึงบุคคลภายนอก จัดเป็นหนังสือประเภทใด ก.หนังสือภายนอก ข.หนังสือภายใน ค.หนังสือประทับตรา ง.หนังสือประชาสัมพันธ์ 15. ข้อใดต่อไปนี้อาจไม่มีในหนังสือราชการ ก. เรื่อง ข.วัน เดือน ปี ที่ออกหนังสือ ค.คำขึ้นต้นและคำลงท้าย ง.อ้างถึงและสิ่งที่ส่งมาด้วย 16. หนังสือภายนอกกับหนังสือภายในต่างกันในข้อใด ก.แบบฟอร์ม ข.การเก็บหนังสือ ค.ผู้ส่งและผู้รับ ง.การลงทะเบียนรับ-ส่ง 17. ข้อใดเป็นลักษณะของหนังสือภายใน ก.หนังสือที่ส่งไปโดยไม่บรรจุซอง ข.หนังสือที่มีไปมา ระหว่างส่วนราชการต่างกระทรวง ค.หนังสือติดต่อระหว่างบุคคลภายนอกด้วยกัน ง.ไม่มีข้อถูก 18. หนังสือประทับตราใช้กระดาษชนิดใด ก.ใช้กระดาษตราครุฑ ข.ใช้กระดาษบันทึก ค.ใช้ประดาษอัดสำเนา ง.ไม่มีข้อกำหนดแน่นอน 19. วันเดือน ปี ที่ออกหนังสือในหนังสือประทับตรา ให้พิมพ์ไว้ตรงส่วนไหนในหนังสือ ก.ใต้รูปครุฑ ข.ได้ชื่อส่วนราชการที่ส่งหนังสือออก ค.ไม่มีการลงวัน เดือนปี ในหนังสือชนิดนี้ ง .ผิดทุกข้อ 20. หนังสือประทับตราจะมีความสมบูรณ์พร้อมที่จะส่งออกได้ จะต้อง… ก.ประทับตราให้ถูกที่สุด ข.ระบุตัวผู้รับให้ชัดเจน ค.มีคำว่าหนังสือประทับตรา ง.มีผู้ลงชื่อกำกับตราที่ประทับตามระเบียบ 21. รายงานการประชุมจัดอยู่ในหนังสือราชการชนิดใด ก.หนังสือภายใน ข.หนังสือสั่งการ ค.หนังสือประชาสัมพันธ์ ง.หนังสือที่เจ้าหน้าที่จัดทำขึ้นหรือรับไว้เป็นหลักฐานในราชการ 22. หนังสือราชการที่มีคำว่า "ด่วน"ผู้มีหน้าที่ดำเนินการจะต้องปฏิบัติอย่างไร ก.ปฏิบัติเร็วที่สุด ข.ปฏิบัติโดยเร็ว ค.ปฏิบัติเร็วกว่าปกติเท่าที่จะทำได้ ง.ปฏิบัติเร็วตามกำหนดเวลา 23. การเซ็นชื่อรับรองสำเนาหนังสือ ผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้องตั้งแต่ระดับใดขึ้นไปเป็นผู้ลงนามรับรอง ที่ชอบด้วยระเบียบงานสารบรรณ ก.ระดับ 2 ข.ระดับ 3 ค.ระดับ 4 ง.ระดับ 5 24. การพิมพ์ชื่อส่วนราชการเจ้าของเรื่องที่ออกหนังสือให้พิมพ์ไว้ส่วนใดของหนังสือราชการ ก.ริมกระดาษด้านบนขวา ข.ริมกระดาษด้านบนซ้าย ค.ริมกระดาษด้านล่างซ้าย ง.กลางหน้ากระดาษด้านบนสุด 25. การพิมพ์หมายเลขโทรศัพท์ของส่วนราชการเจ้าของเรื่องนั้น ให้พิมพ์ไว้ตรงส่วนไหน ก.มุมกระดาษด้านล่างขวา ข.กลางหน้ากระดาษด้านบนขวา ค.ใต้ชื่อส่วนราชการเจ้าของเรื่อง ง.ตรงไหนก็ได้ 26. ข้อใดไม่ใช่ส่วนราชการตามความหมายของพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี หมายถึงข้อใด ก. สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ข. กองทัพบก ค. กระทรวงมหาดไทย ง. กรุงเทพมหานคร 27. ผู้รักษาการตามกฎหมายนี้ คือ ก. นายกรัฐมนตรี ข. ประธาน คมช. ค. รัฐมนตรีสำนักนายกรัฐมนตรีที่นายกฯมอบหมาย ง. เลขาธิการ ก.พ.ร. 28. ข้อใดถือว่าเป็นเป้าหมายของการบริหารราชการตามกฎหมายนี้ ก. ไม่มีขั้นตอนการปฏิบัติงานเกินความจำเป็น ข. มีการปรับปรุงภารกิจของส่วนราชการให้ทันต่อสถานการณ์ ค. ประชาชนได้รับการอำนวยความสะดวกและได้รับการตอบสนองความต้องการ ง. ถูกทุกข้อ 29. ในการบริหารราชการเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน ส่วนราชการจะต้องดำเนินการโดยถือว่า ก. ประชาชนสำคัญที่สุด ข. ระบบการบริหารสำคัญที่สุด ค. นโยบายรัฐบาลสำคัญที่สุด ง. ประชาชนเป็นศูนย์กลางที่จะได้รับการบริการจากรัฐ 30. การบริหารราชการเพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ ให้ส่วนราชการปฏิบัติ ก. ก่อนจะดำเนินการตามภารกิจใด ส่วนราชการต้องจัดทำแผนปฏิบัติราชการไว้เป็นการล่วงหน้า ข. การกำหนดแผนปฏิบัติราชการของส่วนราชการต้องมีรายละเอียดของขั้นตอน ระยะเวลาและ งบประมาณที่จะต้องใช้ในการดำเนินการของแต่ละขั้นตอนเป้าหมายของภารกิจ ผลสัมฤทธิ์ของ ภารกิจ และตัวชี้วัดความสำเร็จของภารกิจ ค. ส่วนราชการต้องจัดให้มีการติดตามและประเมินผลการปฏิบัติ ตามแผนปฏิบัติราชการตาม หลักเกณฑ์และวิธีการที่ส่วนราชการกำหนดขึ้น ซึ่งต้องสอดคล้องกับมาตรฐานที่ ก.พ.ร. กำหนด ง. ถูกทุกข้อ 31. เมื่อคณะรัฐมนตรีได้แถลงนโยบายต่อรัฐสภาแล้ว ให้หน่วยงานใด ร่วมกันจัดทำแผนการบริหารราชการแผ่นดิน เสนอต่อคณะรัฐมนตรี ก. สภาพัฒน์ฯ ข. สำนักงบประมาณ ค. สำนักงานเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ง. ถูกทุกข้อ 32. การเสนอแผนการบริหารตามข้อที่แล้ว ต้องเสนอภายในกี่วัน ก. 30 วัน ข. 60 วัน ค. 90 วัน ง. แล้วแต่มติคณะรัฐมนตรีกำหนด 33. หน่วยงานมีหน้าที่รับผิดชอบในการจัดทำนิติบัญญัติ ก. สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ข. สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ค. ก.พ.ร. ง. ถูกเฉพาะข้อ ก. และ ข้อ ข. 34. ส่วนราชการใดที่จะต้องจัดทำแผนรองรับแผนการบริหารราชการแผ่นดิน ก. สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ข. กองทัพบก ค. กระทรวงมหาดไทย ง. ถูกทุกข้อ 35. แผนปฏิบัติราชการของส่วนราชการต้องเสนอ ก. หัวหน้าส่วนราชการนั้นให้ความเห็นชอบ ข. รัฐมนตรีต้นสังกัดให้ความเห็นชอบ ค. คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบ ง. ก.พ.ร.ให้ความเห็นชอบ เฉลยธุรการ ชุดที่ 31. ค 2. ง 3. ง 4. ค 5. ค 6. ค 7. ข 8. ค 9. ข 10. ค 11. ง 12. ข 13. ข 14. ก 15. ง 16. ก 17. ง 18. ก 19. ข 20. ง 21. ง 22. ค 23. ก 24. ค 25. ค 26. ง 27. ก 28. ง 29. ง 30. ง 31. ง 32. ค 33. ง 34. ง 35. ข |
ข้อสอบครู,บรรจุข้าราชการ,ข้อสอบนายร้อยตำรวจ,ข้อสอบเข้าศึกษาต่อ,ข้อสอบเตรียมทหาร,ข้อสอบอุดมศึกษา
วันอังคารที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2554
ข้อสอบตำรวจที่ออกบ่อย รวมชุดที่ 3 (ธุรการ) มีแนว ภาวะผู้นำ
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
กด LIKE แล้วติดตามการอัพเดตได้ในหน้าแรกFACEBOOK ตลอด
ร่วมกดไลค์เพื่อแชร์ไปให้เพื่อนๆทุกคน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น