วันอังคารที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2554

เทคนิคการจำไฟลัมทั้ง 9


พี่เลยเอาเทคนิคการจำแบบง่ายๆ เกี่ยวกับ ไฟลัมทั้ง9 ของอาณาจักรสัตว์มาฝากกันครับ
 ก่อนอื่นเลย อยากให้น้อง ท่องจำ ประโยค นึง ให้ขึ้นใจ สะก่อนนั้นคือ
 "เพื่อนซี้พานีแอนกับคุณอาไปเดอะมอลล์เพื่อกินเอแคล"
 เป็นไงครับ คุ้นๆ กันไหมเอ่ย..? จากนี้ พี่จะทำการแจงให้ดูที่ล่ะ ชนิดเลยนะครีบ
 เพื่อน  หมายถึง ไฟลัมพอริเฟอรา เป็นพวก ฟองน้ำ นั้นเอง
 - จำพวกฟองน้ำ
 - เป็นพวกไม่มีสมมาตร
 - มีเนื้อเยื้อ 2 ชั้น แต่ไม่เป็น germ layer
 - ไม่มีระบบทางเดินอาหาร หรือง่ายๆเลย ไม่มีปากและตูด
 - ไม่มีระบบหายใจ ไม่มีระบบหมุนเวียนเลือด
ซี้  หมายถึง ซีแอนเคอนาตา เป็นพวก แมงกระพรุน ปะการัง ดอกไม้ทะเล
 - เป็นพวกมีสมมาตรแบบผ่าตามรัศมี 2 ครั้ง ได้เท่ากัน ยกเว้น ดอกไม้ทะเล ที่ผ่าได้แค่ 2 ครับ เท่านั้น
 - มีเนื้อเยื้อ 2 ชั้น
พา หมายถึง แพลทิเฮลมินทิส เป็นพวก หนอนตัวแบน หรือจำอีกแบบคือ คำว่า "แพล" จะสะกดคล้ายๆ "แบน"
นี หมายถึง นีมาโทดา เป็นพวก หนอนตัวกลม
แอน หมายถึง แอนนานีดา เป็นพวก ไส้เดือนดิน
 - มีระบบหมุนเวียนเลือดแบบปิด
 - มีระบบทางเดินอาหารแท้
 - มีฮีโมโกบินอยู่ใน พลาสมา ไม่ใช่ในเม็ดเลือด ทำให้เลือดไส้เดือน ใส
 - และยังมีลักษณะคล้าย  amiboesyte เพราะมันคล้าย อะมิบา
อา หมายถึง อาโทโพดา เป็นพวก กุ้ง ปู แมลง
มอล หมายถึง มอลลัสกา เป็นพวก หอย หมึก
เอ หมายถึง เอไคโนเดอมาตา เป็นพวก ดาวทะเล ปลิงทะเล
แคล หมายถึง คอดาตา เป็นพวก สัตว์มีกระดูกสันหลัง รวมถึงคนด้วย

ทริปน่ารู้!!
ระบบหมุนเวียนเลือด เริ่มมีการพัฒนา มาตั้งแต่ ไฟลัมที่ 5 6 7 8 9 โดยแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะคือ ระบบหมุนเวียนเลือดแบบเปิด และ แบบปิด
ระบบหมุนเวียนเลือดแบบปิด คือ ระบบที่ เลือดจะอยู่ในเส้นเลือดเท่านั้น และไปเลี้ยงร่างกาย ได้โดยผ่าน เส้นเลือดฝอย
ระบบหมุนเวียนเลือดแบบเปิด คือ ระบบที่เลือดจะอยู่ในเส้นเลือด และเมื่อ ต้องไปเลี้ยงส่วนต่างๆ จะต้องมารวมกันที่ แอ่งเลือด และ นำไปใช้เลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกาย
แสดงระบบเลือดแบบเปิดและปิด
ไฟลัม 5 6 7 8 9
 ปิด เปิด เปิด เปิด ปิด


เสริมนิด
ไฟลัมมอลลัสกา หรือไฟลัมที่ 7  ประกอบด้วยพวก หวย หมึก นั้น จะมี ระบบเลือดแบบเปิด แต่ยกเว้น หมึก และ หอยงวงช้าง ที่มีระบบเลือดแบบปิด

credit : Kulala

แนวข้อสอบแพทย์


ข้อสอบทั้งหมด 4 ฉบับ ประกอบด้วย
1.การคิดอย่างมีวิจารณญาณ 100 คะแนน
2.การอ่านจับใจความ 100 คะแนน
3.การเชื่อมโยง 100 คะแนน
4.จริยธรรมทางการแพทย์ 100 คะแนน
ฉบับที่1 :
ข้อสอบแบ่งเป็นหลายๆประเภท เช่น
-SAT มิติสัมพันธ์
-การใช้เหตุผล เชิงนิรนัยและอุปนัย
-การเรียงประโยค ก่อน-หลัง
ใช้เวลาทำ 1ชมครึ่ง ฉบับนี้ทำไม่ทันเลย
ฉบับที่2:
-จะมีเอกสารมาให้เราอ่าน 6หน้ากระดาษ แล้วเก็บกลับคืน
-ใช้เวลาอ่าน 30 นาที
-แล้วก็จะมีคำถามมาให้ แบ่งเป็นสองตอน
-ตอบผิด ติดลบด้วยนะ
ใช้เวลาทำเหมือนเดิม
ฉบับที่3:
-ให้บทความมา2หน้ากระดาษ ในนั้นจะมีข้อความขีดเส้นใต้ไว้
-ให้เราเชื่อมโยง แต่ละตัวที่ขีด
-ตอบผิดติดลบแบบว่าโหดมาก มีคนได้ 0ด้วยนะ
ใช้เวลาเหมือนเดิม
ฉบับที่ 4:
-ข้อสอบ 50 ข้อ
-เป็นตัวอย่างสถานการณ์มาให้ แล้วให้เราตัดสินใจแก้ปัญหา
-ชุดนี้ดูเหมือนจะง่าย แต่คำตอบใกล้เคียงกันมาก เดาใจ อ.ไม่ถูกเลย
ใช้เวลาเหมือนเดิม

สำหรับการสอบ ความถนัดทางการแพทย์ จำได้ว่าเริ่มมีตั้งแต่ปี 49 ซึ่งปีนั้นจะแบ่งเป็นจุฬา กับ 9สถาบันและปีล่าสุดที่ผ่านมาก็มารวมกันเป็น 12สถาบัน
สำหรับสถิติคะแนนสอบของปีล่าสุดที่พี่เก็บมาให้คือ
คะแนนสูงสุด 325 กว่าๆ คะแนนต่ำสุด 25 คะแนนเฉลี่ย 204 กว่าๆ
พี่มาวิเคราะห์ดูว่า ถ้าเราทำคะแนนวิชาเฉพาะได้สูงก็จะมีโอกาสติดแพทย์ได้สูงมากๆ
ซึ่งทางกสพท. เก็บคะแนนส่วนนี้ถึง 30%เลยทีเดียวนะ..
----------------------------
เกณฑ์น้ำหนักคะแนนการสอบเข้าคณะแพทย์ของ กสพท.
1.ความถนัดทางการแพทย์ 30%
2.A-Net 70%
แบ่งเป็น - ไทย 10%(7%)
- สังคม 10%(7%)
- คณิต 20%(14%)
- Eng 20%(14%)
- วิทยาศาสตร์ 40%(28%)
3.O-net ไม่คิดคะแนน แต่ต้องผ่านเกณฑ์ ทุกวิชารวมกัน ไม่ต่ำกว่า 60%
----------------------------

น้องๆ อาจจะลองไปserch google หาข้อมูลเพิ่มเติมต่อยอดได้ พี่เชื่อว่าน่าจะมีคนแนะนำไว้เหมือนกัน นะ
บางทีอาจจะเจอของดีก็ได้
ความถนัดทางการแพทย์
จะมีสอบประมาณเดือน ตุลาคมนะครับ
ขอให้น้องโชคดีทุกๆคน

แนวข้อสอบเข้าแพทย์แบบใหม่...เอาไปให้ลูกหลานเตรียมพร้อมไว้

เนื่องจากทางกระทรวงคมนาคม(Huh) โดยความร่วมมือกับ กสพธ. - กลุ่มสถาบันแพธยศาสตร์แห่งประเทศไทย
ได้เล็งเห็นว่าการสอบคัดเลือกกนักศึกษาโดยระบบที่ใช้ในปัจจุบันนี้ก่อให้เกิ ดปัญหาความไม่ยุติธรรมและความไม่เท่าเทียมกันในการสอบ  
ทางกระทรวงฯ โดยความร่วมมือกับ กสพธ. จึงมีนโยบายที่จะจัดทำข้อสอบขึ้นมาใหม่ ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ในปีหน้า  
 
โดยข้อสอบชุดใหม่นี้จะเป็นข้อสอบแบบรวมทุกรายวิชา  
และเพื่อตัดปัญหาการเก็งข้อสอบ  การสักแต่ท่องจำเฉพาะหัวข้อสำคัญๆ แล้วมาสอบ  
ข้อสอบชุดใหม่นี้จึงจะถามคำถามแบบเชิงประยุกต์ที่สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำ วันได้  
เพื่อให้นักเรียนได้ตั้งใจศึกษากันอย่างเต็มที่และมีแนวคิดการแก้ปัญหาอย่าง เป็นระบบ
 
ตัวอย่างสาระข้อสอบดังกล่าวมีดังนี้ 

วิชาคณิตศาสตร์ (อัตนัย 100 คะแนน)

******************************************
จงแสดงวิธีทำโดยละเอียดรอบคอบและตอบคำถามต่อไปนี้
 
1.หากนำเลขบัตรประจำตัวประชาชนของคุณบุญกึ่ม ณ หนองโคก  
มาลบออกจาก เลขบัญชีธนาคารของนาย สมตุ๋ย ลุยถั่วดำ  
ยกกำลังด้วยเลขบัตรนักศึกษาของ นายบักปื๊ด บ้านบักเป็ด จะได้ผลลัพธ์เป็นเท่าไร?
 
2.จงขอเบอร์นักเรียนหญิงที่น่ารักๆ มาอย่างน้อย 10 รายชื่อ?
(หมายเหตุ 1 : คะแนนจะแปรผันตามความน่ารัก…)
(หมายเหตุ 2  : ในกรณีที่เป็นผู้หญิง ถ้ามั่นใจว่าน่ารัก สามารถใส่เบอร์ตัวเองได้เช่นกัน)
(หมายเหตุ 3 : หากใส่เบอร์กระเทยมา จะถือว่าทุจริต ปรับตกและตัดสิทธิสอบ 25 ปี)
 
3.นักเรียนคิดว่า ……หวยงวดต่อไปจะออกเลขอะไร ?
(หมายเหตุ 1  : อนุญาตให้ขูดโต๊ะ เก้าอี้ ผนังห้อง หัวคนข้างหน้า…หรือเข้าทรง ได้ตามอัธยาศัย  
  (แต่อย่าแสดงอิทฤทธิ์มากจนรบกวนผู้เข้าสอบคนอื่น)
(หมายเหตุ 2 : ถ้าใครถนัดฝันเป็นเลขเด็ด สามารถยกมือขอหมอนจากอาจารย์คุมสอบได้)  
 
4.จงคำนวนหาตัวเลขแสดงฉบับอวสานของยอดนักสืบจิ๋ว โคนัน พร้อมสูตร
(หมายเหตุ 1 : คะแนนของข้อนี้จะออกหลังจากทราบคำตอบที่แน่นอน)
(หมายเหตุ 2 : อนุญาติให้โทรศัพท์ไปหาโกโช อาโอยาม่า เพื่อถามคำตอบหรือจะขู่ฆ่าให้ตัดจบก็แล้วแต่ ถ้าไม่กลัวติดคุก)
 
 
 
 
 
วิชาฟิสิกส์ (อัตนัย 100 คะแนน)
******************************************
จงแสดงวิธีทำโดยละเอียดรอบคอบและตอบคำถามต่อไปนี้
 
1.  ชายคนหนึ่งได้ทำการทดลองทางฟิสิกส์ด้วยการกระโดดร่มจากตึกสูง 150 ชั้น ซึ่งมีความสูงชั้นละ 2.5 เมตร  
โดยให้เพื่อนของเขาสังเกตุการณ์อยู่ที่ริมหน้าต่างซึ่งมีความสูง 1.2 เมตร  
หากช่วงเวลานั้นมีแรงลมจากทิศเหนือที่พัดมาปะทะตึก 150 Pa และความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศ 18 % และปรากฎว่า  
มีแรงพยุงจากร่มชูชีพ 30 kN เมื่อชายคนนั้นลอยอยู่เหนือพื้น 70 เมตร ร่มเกิดขาดด้วยแรงเฉือน (Shear force) 32 kN  
ชายคนนั้นจึงตกลงมากระทบพื้นด้วยคุณภาพเสียง 70 dB อยากทราบว่าใครจะเป็นเจ้าภาพงานศพ    
(กำหนดแรง g = 9.8 N และ อุณภูมิขนาดนั้นเป็น 20 'C )
 
2. การปลดปล่อยทูตสวัสดิกะของเหล่ายมทูตอาศัยหลักการทางฟิสิกส์อะไรบ้าง  
มีหน่อยวัดปริมาณอะไร และแตกต่างกับการปล่อยพลังคลื่นเต่าของโงกุนอย่างไร
 
3. ทฤษฎีสัมพันธภาพ ถูกคิดค้นโดยนักฟิสิกส์ชื่อดัง อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์  
อยากทราบว่าพ่อตาของไอน์สไตน์มีชื่อว่าอะไร
 
 
 
 
 
วิชาเคมี (อัตนัย 100 คะแนน)
******************************************
จงแสดงวิธีทำโดยละเอียดรอบคอบและตอบคำถามต่อไปนี้
 
1. อยากทราบว่าเคมีอาจารย์อุ๊กับวุ้นคุณอุ๊เกี่ยวข้องกันอย่างไร
 
2. นักเคมีคนใดที่เป็นแฟนตัวยงของทีมลิเวอร์พูล จนถึงขนาดมีลายเซ็นครบทุกคน  
และในยุคสมัยของนักเคมีท่านนั้น  กับตันทีมดังกล่าวมีชื่อว่าอะไร  ได้ถ้วยอะไรบ้าง
 
3. ในการทดลองการเหนี่ยวนำของพันธะ ได้นำกรดไซยาไนต์ เข้มข้น 121 %  
ผสมกับน้ำยาล้างจานซันไลย์กลิ่นสตรอบอรีสูตรขจัดคราบหมดจด 3 mol  และน้ำกลั่นไม่บริสุทธ์จำนวนหนึ่ง  
ผสมน้ำยาล้างห้องน้ำยี่ห้อเป็ด  อยากทราบว่าสารเคมีที่ได้ออกมานั้นมีรสชาติอย่างไร  
(หมายเหตุ  นักเรียนสามารถ ดม ชิม จิ้ม จ่ม ได้ตามสะดวก  
และนักเรียนสามารถจองศาลา และขอกระดาษเขียนจดหมายสั่งเสียได้ที่อาจารย์คุมสอบ)
 
 
 
 
 
วิชา ชีวะวิทยา (อัตนัย 100 คะแนน)
******************************************
จงตอบคำถามต่อไปนี้โดยละเอียดรอบคอบ
 
1. จงสรุบเนื้อหาวิชาชีวะวิทยาที่เรียนมาตั้งแต่เกิดจน ณ ปัจจุบัน มาโดยละเอียด  
(อนุญาตให้เขียนได้ไม่เกิน 2 บรรทัด)
 
2. เพราะ เหตุใด Resident evil ถึงมีชื่อภาษาไทยว่า ผีชีวะ (ทำไมไม่เป็น ผีฟิสิกส์   ผีสุขศึกษา  ผีสังคม)  
จงอธิบายมาโดยละเอียดพร้อมทั้งยกเหตุผลประกอบ
 
 
 
 
 
วิชา ภาษาอังกฤษ (ปรนัย 300 คะแนน)
******************************************
จงเลือกคำแปลเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องที่สุดของประโยคสนทนาต่อไปนี้
 
1. Can you finish all of them ?
 
a. กระป๋อง...คุณเสร็จมันแล้ว
b. ความสามารถของคุณจะสำเร็จทั้งหมดของมันหรือ
c. คุณจัดการให้เสร็จเลยได้มั้ย
d. สามารถคุณจบทุกอย่างของพวกเขาเหล่านั้น
 
2. Don't worry, I got your back cove!
 
a. อย่าห่วง ฉันจะคุ้มกันหลังให้เอง
b. อย่ากังวลฉันเลย เอาปกสีดำเถอะ
c. ไม่ต้องกังวล  ฉันจะเอาหลังของคุณ (เฮ้ย)
d. จะห่วงไปใย ฉันนี้ไซร้อยู่ใกล้ๆ เธอ
 
3. Oh shit man! What the hell is this!!!
 
a. โอ้   มนุษย์อุจจาระ  นรกคืออะไร
b. โอ้ ขี้คนผู้ชายอะไรนรกคือสิ่งนี้
c. บัดซบจริงๆ เลยอ่ะ นี่มันบ้าอะไรกันวะเนี่ย (ทำเสียงอาฉี)
d. โอ๋ ชิต แม้น! วัดดอกแห้วอยู่พิจิตร
 
 
 
 
 
วิชาภาษาไทย (ปรนัย 600 คะแนน)
******************************************
จงเติมสุภาษิตต่อไปนี้ให้ถูกต้องตามหลักทำนองคลองธรรม
 
1. ลูกผู้ชาย ฆ่าได้..............................
ก. ฝังได้ด้วย
ข. ก็ฆ่าไป
ค. หยามไม่ได้
ง. ใครก็ได้
 
2.น้ำมาปลากินมด น้ำลด............
ก. ตอผุด
ข. กระหน่ำซัมเมอร์เซลส์
ค. ให้รีบตัก
ง. มดกินปลา
 
3. น้ำท่วมทุ่ง.............
ก. ผักบุ้งโหรงแหรง
ข. ผักบุ้งไฟแดง
ค. ให้รีบตัก
ง. ข้าวสารีแล้วบูม!!!! กลายเป็นโกโก้ครั้น
 
4. ช้างตายทั้งตัว...............
ก. และหัวใจ (อ้วก!!!!)
ข. อย่าเสียผัวให้ใคร
ค. เอาใบบัวมาปิดไม่มิด
ง. รั่วซะให้พอ
 
5. วัวหาย................
ก. ทั้งตัวเอาใบบัวมาปิดไม่มิด
ข. ไปไหนฟะ!!
ค. ควายหด
ง. ล้อมคอก
 
6. รักวัวให้ผูก รักลูก.............
ก. ให้ถูกทาง
ข. หามเสา
ค. ให้ตี
ง. กินด่าง
 
 
 
 
 
 
วิชาสังคม (ปรนัย 300 คะแนน)
******************************************
จงตอบคำถามต่อไปนี้โดยละเอียดรอบคอบ
 
1. จงคิดนโยบายสร้างภาพ ขายฝันให้กับประชาชน…
เพื่อใช้ในการหาเสียงในการลงสมัครรับเลือก ส.ส. ให้ได้คะแนนเสียงมากที่สุด?  
(หมายเหตุ: อนุญาตให้ซื้อเสียง แจกเงิน ปล่อยข่าวลือ หรือ ก่อม็อบประกอบไปด้วยได้ตามอัธยาศัย )
 
2. พฤษภาทมิฬ หรือ Black May เป็นเหตุการณ์ที่ประชาชนเคลื่อนไหวประท้วงอำนาจเผด็จการ
โดยคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (รสช.) ระหว่างวันที่ 17-20 พฤษภาคม พ.ศ. 2535  
ที่นำไปสู่เหตุการณ์นองเลือดบนท้องถนนและการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง  
โดยเหตุการณ์ครั้งนี้เริ่มต้นมาจากเหตุการณ์รัฐประหาร 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534  
หรือ 1 ปีก่อนหน้าการประท้วง ซึ่ง รสช. ได้ยึดอำนาจจากรัฐบาล  
ซึ่งมีพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณเป็นนายกรัฐมนตรีอยู่ในขณะนั้น โดยให้เหตุผลหลักว่ามีการ
 
ฉ้อราษฎร์บังหลวงอย่างหนักในรัฐบาล อยากทราบว่าคำว่า พฤษภาทมิฬ นั้นอ่านออกเสียงได้กี่พยางค์?
 
3. พฤษภาทมิฬ เกี่ยวข้องกับตุลาการทมิฬหรือไม่? ระบุสัดส่วนของชุนเฮียงกับมิสหว่องด้วย
 
 

credit : TTC

อาณาจักร (Kingdom)



ปัจจุบันมีสิ่งมีชีวิตที่ได้รับการจำแนกชนิดประมาณ 2 ล้านชนิด โดยจำแนกออกเป็นอาณาจักร(Kingdom) ต่าง ๆกันถึง 5 อาณาจักร ซึ่งเป็นระบบที่นิยมกันมากที่สุดในปัจจุบัน
การจำแนกชนิดของสิ่งมีชีวิตนั้นอาศัยลักษณะสำคัญที่เป็นลักษณะเฉพาะของสิ่งมีชีวิตแต่ละกลุ่ม โดยการแบ่งตามลำดับชั้นจากกลุ่มใหญ่ที่สุดลงไปถึงชนิดดังนี้
อาณาจักร (Kingdom)
ไฟลัม (Phylum) ของสัตว์ หรือดิวิชัน (Division) ของพืช
ชั้น (Class)
อันดับ (Order)
วงศ์ (Family)
สกุล (Genus)
ชนิด (Species)

การจำแนกอาณาจักรสิ่งมีชีวิต ออกเป็น 5 อาณาจักรดังนี้
  1. อาณาจักรมอเนอรา (Kingdom Monera)
  2. อาณาจักรเห็ดรา (Kingdom Fungi)
  3. อาณาจักรโพรทิสตา (Kingdom Protista)
  4. อาณาจักรพืช (Kingdom Plantae)
  5. อาณาจักรสัตว์ (Kingdom Animalia)
อาณาจักรมอเนอรา (Kingdom Monera)
มอเนอราเป็นสิ่งมีชีวิตจำพวกเซลล์เดียวที่ไม่มีนิวเคลียส หรือไม่มีเยื่อหุ้มนิวเคลียส เรียกสิ่งมีชีวิตพวกนี้รวมๆ ว่า โพรแคริโอต (Prokaryote) ได้แก่ แบคทีเรีย และสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน หรือไซอาโนแบคทีเรีย(cyanobacteria)
อาณาจักรเห็ดรา (Kingdom Fungi)
                เห็ดราเป็นสิ่งชีวิตที่เซลล์มีนิวเคลียสหรือมีเยื่อหุ้มนิวเคลียสเรียกว่า ยูแคริโอต (eukaryote) อาจเป็นสิ่งมีชีวิตที่เซลล์เดียวหรือหลายเซลล์ ไม่มีคลอโรฟิลล์ สังเคราะห์อาหารเองไม่ได้ กินอาหารโดยสร้างน้ำย่อยแล้วปล่อยออกมาย่อยสารอินทรีย์จนเป็นโมเลกุลเล็กและดูดเข้าเซลล์ (saprophyte) ได้แก่ เห็ดและราชนิดต่างๆ
อาณาจักรโพรทิสตา (Kingdom Protista)
                โพรทิสตาเป็นสิ่งมีชีวิตที่มีเซลล์ชนิดยูแคริโอต มีทั้งชนิดเซลล์เดียวและหลายเซลล์ ได้แก่ สัตว์เซลล์เดียว (protozoa) สาหร่ายต่างๆได้แก่ สาหร่ายสีเขียว สาหร่ายสีน้ำตาล สาหร่ายสีแดง สาหร่ายสีทอง เช่น ไดอะตอม
อาณาจักรพืช (Kingdom Plantae)
                พืชเป็นสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์ เซลล์เป็นชนิดยูแคริโอต มีสารสีเพื่อการสังเคราะห์ด้วยแสงเรียกว่าคลอโรฟิลล์ ซึ่งมีหลายชนิด มีผนังเซลล์เป็นสาร เซลลูโลส สืบพันธุ์ทั้งแบบอาศัยเพศและไม่อาศัยเพศ มีวัฏจักรชีวิตแบบสลับ  (alternation of generation) การจำแนกเป็นไฟลัมหรือดิวิชันใช้ลักษณะวัฏจักรชีวิตแบบสลัลที่มีระยะแกมีโทไฟต์ (gemetophyte) และสปอโรไฟต์ (sporophyte) การมีท่อลำเลียงอาหารและน้ำ มีรากและใบ และมีดอก (fower) หรือไม่มีดอก แบ่งออกเป็นดิวิชัน ดังนี้
1.       ดิวิชันไบรโอไฟตา (Division Bryophyta) เป็นพืชขนาดเล็ก ไม่มีระบบท่อลำเลียง มีระยะแกมีโทไฟต์เจริญเป็นอิสระนานกว่าระยะสปอโรไฟต์ ได้แก่ มอสส์ (moss) ลิเวอร์เวิร์ต(liverwort) และฮอร์นเวิร์ต (hornwort)
2.       ดิวิชันไซโลไฟตา (Division Psilophyta) พืชมีลำต้นยาวเรียว เริ่มมีท่อลำเลียง ไม่มีใบและรากที่แท้จริง ได้แก่สกุล Psilotum หรือหวายทะนอย
3.       ดิวิชันไลโคไฟตา (Divison Lycophyta) พืชโบราณ มีใบและรากที่แท้จริง มีท่อลำเลียง ได้แก่ สกุลSelagilnella หรือตีนตุ๊กแก สกุล Lycopediun หรือหญ้ารังไก่ สามร้อยยอด
4.       ดิวิชันสฟีโนไฟตา (Division Sphenophyta) ลำต้นมีลักษณะเป็นข้อ ๆ มีรากและใบที่แท้จริง มีท่อลำเลียงที่แท้จริง ได้แก่สกุล Equisetum หรือหญ้าถอดปล้อง สนหางม้า
5.       ดิวิชันเทอโรไฟตา (Division Pterophyta) เป็นพืช เริ่มมีท่อลำเลียงพัฒนาดีขึ้น ไม่มีดอก ได้แก่เฟิร์น ผักแว่น จอกหูหนู แหนแดง ชายผ้าสีดา
6.       ดิวิชันไพโนไฟตา (Division Pinophyta) เป็นพืชยืนต้น มีเนื้อไม้ มีท่อลำเลียงที่พัฒนาดีขึ้น มีรากและใบ มีเมล็ด แต่เมล็ดไม่มีส่วนหุ้มเมล็ด (คือ เปลือย [ghymnosperm]) แบ่งเป็นสามซับดิวิชัน (subdivision) คือ
6.1    ซับดิวิชัน Cycadicae คือพืชพวกปรง (Cycas)
6.2    ซับดิวิชัน Pinicae ได้แก่ แป๊ะก้วย สกุล Ginkgo และพืชพวกสน เช่น สนสองใบ(Pinus merkusii) สนสามใบ (Pinus Kesiya) ไซเพรสส์ (Cypress) เรดวูด(redwood)
6.3    ซับดิวิชัน Gneticae ส่วนใหญ่เป็นไม้เลื้อยขนาดใหญ่ เช่น มะเมื่อย สกุล Gnetumและพืชในทะเลทรายแอฟริกา สกุล Welwitschia
7.       ดิวิชันแมกโนลิโอไฟตา (Division Magnoliophyta) คือพืชไม้ดอกที่มีท่อลำเลียง มีใบและราก มีเมล็ดที่มีรังไข่ห่อหุ้ม แบ่งเป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยว (monocots) และพืชใบเลี้ยงคู่ (dicots)หรือแบ่งเป็นสองชั้นคือ
7.1    ชั้นแม็กโนลิออปซิดา (Class Magnoliopsida [dicots]) เช่น มะลิ
7.2    ชั้นลิลิออปซิดา (Class liliopsida [monocots]) เช่น ข้าว กล้วย หญ้า 
อาณาจักรสัตว์ (Kingdom Animalia)
                สิ่งมีชีวิตหลายเซลล์ ประกอบด้วยเซลล์ชนิดยูแคริโอต การจำแนกเป็นไฟลัมต่างๆใช้ลักษณะสำคัญคือ จำนวนชั้นของเนื้อเยื่อ ช่องภายในตัว ปล้องขา ลำตัว ชนิดของท่อทางเดินอาหาร สมมาตร(symmetry) ของลำตัว ชนิดของระบบไหลเวียน และการพัฒนาของระบบอื่นๆ แบ่งออกเป็นสอง ซับคิงดอม(Subkingdom) คือ ซับคิงดอมพาราซัว (Parazoa) ได้แก่ฟองน้ำและซับคิงดอมเมทาซัว (Metazoa) ได้แก่สัตว์อื่นๆที่เหลือ ซึ่งแบ่งย่อยเป็นไฟลัมต่างๆมากถึง 30 ไฟลัมในปัจจุบัน แต่ที่สำคัญมี 10 ไฟลัมคือ
1.       ไฟลัมพอริเฟอรา (Phylum Porifera) เป็นสัตว์หลายเซลล์ ไม่มีสมมาตร ลำตัวเป็นรูพรุน มีช่องน้ำเข้าและช่องน้ำออก มีโครงร่างแข็งหรือเป็นเส้นใยโปรตีน เช่น ฟองน้ำแก้ว สกุลEuplectella ฟองน้ำน้ำจืด สกุล Spongilla ฟองน้ำถูตัว สกุล Spongia
2.       ไฟลัมซีเลนเทอราตา (Phylun Coelenterata) เป็นสัตว์ที่มีเนื้อเยื่อสองชั้น มีสมมาตรแบบรัศมี(radial symmetry) มีท่อทางเดินอาหาร แต่ไม่มีช่องตัว มีเซลล์ไนโดไซต์ (cnidocyte)สร้างเข็มพิษ (nematocyst) แบ่งเป็นสามชั้น
2.1    ชั้นไฮโดรชัว (Hydrozoa) ได้แก่ ไฮดรา (Hydra) แมงกะพรุนไฟ (Physalia)
2.2    ชั้นไซโฟซัว (Scyphozoa) ได้แก่ แมงกะพรุนหนัง (Aurelia) แมงกะพรุนไฟ(Chironex)
2.3    ชั้นแอนโทซัว (Anthozoa) ได้แก่ ปะการัง (coral) ปะการังเขากวาง (Acrepora)กัลปังหา (sea fan)
3.       ไฟลัมแพลทิเฮลมินทีส (Phylum Platyhelminthes) ได้แก่ หนอนตัวแบน มีเนื้อเยื่อสามชั้น ไม่มีช่องตัว มีสมมาตรแบบด้านข้าง (bilateralsymmetry) มีระบบย่อยอาหาร (บางชนิดไม่มี)แบ่งเป็นสามชั้น
3.1    ชั้นเทอร์เบลลาเรีย (Turbellaria) ได้แก่ พลานาเรีย (Dugesia)
3.2    ชั้นทรีมาโทดา (Trematoda) ได้แก่ พยาธิใบไม้ (fluke) เช่น พยาธิใบไม้ในตับ(Opisthorchis viverrini)
3.3    ชั้นเซสโทดา (Cestoda) ได้แก่ พยาธิตัวตืด (tape worm) เช่น พยาธิตัวตืดหมู(Taenia solium)
4.       ไฟลัมเนมาโทดา (Nematoda) ได้แก่ หนอนตัวกลม มีเนื้อเยื่อสามชั้นมีสมมาตรแบบด้านข้าง มีช่องตัวเทียม (pseudocoet) เช่น พยาธิไส้เดือน (Ascaris lumbricoides) โรคเท้าช้าง(Brugia malayi)
5.       ไฟลัมแอนเนลิดา (Phylum Annelida) หนอนปล้อง ลำตัวแบ่งเป็นปล้องชัดเจน มีเนื้อเยื่อสามชั้นมีสมมาตรแบบด้านข้าง มีช่องตัวที่แท้จริง (coelom) มีระบบไหลเวียนและระบบประสาท แบ่งเป็นสามชั้น
5.1    ชั้นโพลีคีตา (Polychaeta) ได้แก่ แม่เพรียง (Nereis) หนอนฉัตร (trbe worm)
5.2    ชั้นโอลิโกคีตา (Oligochaeta) ได้แก่ ไส้เดือนดิน (Pheretima)
5.3    ชั้นไฮรูดิเนีย (Hirudinea) ได้แก่ ปลิง (leech) ทากดูดเลือด (landleech)
6.       ไฟลัมมอลลัสกา (Phylum Mollusca) ลำตัวนิ่มมักมีเปลือกหุ้มเนื้อเยื่อสามชั้น มีสมมาตรด้านข้างมีช่องตัวลดรูปจนมีขนาดเล็ก มีระบบไหลเวียนและระบบประสาท แบ่งเป็นห้าชั้น
6.1    ชั้นแอมฟินิวรา (Amphimeura) ได้แก่ ลิ่นทะเล (chiton)
6.2    ชั้นแกสโทรโพดา (Gastropoda) ได้แก่ หอยกาบเดี่ยว (snail) หอยทาก (slug) ทากทะเล (nudibranch)
6.3    ชั้นแพลีไซโพดา (Pelecypoda) ได้แก่ หอยกาบคู่ (bivalves) เช่นหอยแมลงภู่(Mytilus biridis)
6.4    ชั้นสแคโฟโพดา (Scaphoposa)ได้แก่ หอยงาช้าง (tusk shell)
6.5    ชั้นเซฟาโลโพดา (Cephalopoda) ได้แก่ ปลาหมึกสาย หรือปลาหมึกยักษ์(Octopus) ปลาหมึกกล้วย (Loligo) หอยงวงช้าง (nautilus)
7. ไฟลัมอาร์โทรโพดา (Phylum Arthropoda) สัตว์ที่มีลำตัวแบ่งเป็นปล้องมีโครงร่างภายนอกหรือเปลือกปกคลุม ขาต่อเป็นข้อๆ สมมาตรแบบด้านข้างมีระบบไหลเวียนและระบบประสาท แบ่งเป็นสองซับไฟลัม คือ เคลิเซอราตา (Chelicerata) ได้แก่ แมงดาทะเล และแมงมุม และซับไฟลัมแมนดิบูลาตา (Mandibulata) เช่น กุ้ง ปู ตะขาบ กิ้งกือ แบ่งเป็นชั้นดังนี้
7.1 ไซโฟซูริดา (Xiphosurida) ได้แก่ แมงดาจาน (Tachypleus gigas)
7.2 อะแร็กนิดา (Arachnida) ได้แก่ แมงมุม แมงป่อง
7.3 ครัสเตเชีย (Crustacea) ได้แก่ กุ้ง กั้ง ปู เพรียงหิน
7.4 ไคโลโพดา (Chilopida) ได้แก่ ตะขาบ
7.5 ไดโพลโพดา (Diplopoda)ได้แก่ กิ้งกือ
7.6 อินเซกตา (Insecta) ได้แก่ แมลงต่างๆ
8. ไฟลัมอีคิโนเดอร์มาตา (Phylum Echinodermata) เป็นสัตว์ทะเลทั้งหมด ผิวหนังมีหนาม ตัวอ่อนมีสมมาตรด้านข้าง ตัวเต็มวัยมีสมมาตรรัศมีมีระบบน้ำใช้ในการเคลื่อนที่ มีระบบไหลเวียน ระบบประสาท และระบบท่อทางเดินอาหาร จำแนกเป็นห้าชั้น
8.1 ชั้นแอสเทอรอยเดีย (Asteroidea) ได้แก่ ปลาดาว หรือดาวทะเล (star fish)
8.2 ชั้นโอฟิยูรอยเดีย (Ophiuroidea) เช่น ดาวเปราะ (brittle star)
8.3 ชั้นอีคิยูรอยเดีย (Echiuroidea) เช่น เม่นทะเล (sea urchin) เหรียญทราย(sand dollar)
8.4 ชั้นโฮโลทูรอยเดีย (Holothuroidea) เช่น ปลิงทะเล (sea cucumber)
8.5 ไคนอยเดีย (Crinoidea) เช่น ดาวขนนก (feather star) พลับพลึงทะเล(sea lilly)
9. ไฟลัมคอร์ดาตา (Phylum Chordata) สัตว์มีกระดูกสันหลัง มีสมมาตรด้านข้าง มีช่องตัวอย่างแท้จริง มีระบบต่างๆพัฒนาสูงสุด จำแนกเป็นสามซับไฟลัมคือ
9.1 ซับไฟลัมยูโรคอร์ดาตา (Subphhylum Urochordata) ได้แก่ เพรียงหัวหอม (tunicate)
9.2 ซับไฟลัมเซฟาโลคอร์ดาตา (Subphylum Cephalochordata)ได้แก่แอมฟิออกซัส(Amphioxus)
9.3 ซับไฟลัมเวอร์ทีบราตา (Vertebrata) ได้แก่ สัตว์มีกระดูกสันหลังทั้งหมด จำแนกเป็นชั้นดังนี้
9.3.1 ชั้นแอ็กนาทา (Agnatha) ได้แก่ ปลาปากกลม(cyclostome)
9.3.2 ชั้นคอนดริกไทอีส (Chomdrichthyes) ได้แก่ ปลากระดูกอ่อน เช่น ปลาฉลาม ปลาฉนาก ปลากระเบน
9.3.3 ชั้นออสทีอิกไทอีส (Osteichthyes) ได้แก่ ปลากระดูกแข็ง เช่น ปลากะพง ปลาช่อน ปลาหมอเทศ
9.3.4 ชั้นแอมฟิเบีย (Amphibia) สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก ได้แก่ กบ คางคก เขียด แซลาแมนเดอร์
9.3.5 ชั้นแรปทิเลีย (Reptilia) สัตว์เลื้อยคลาน ได้แก่ เต่า ตะพาบน้ำ แย้ ตะกวด จิ้งจก จิ้งเหลน จระเข้
9.3.6 ชั้นเอวีส (Aves) ได้แก่ นกชนิดต่างๆ เป็ด ไก่
9.3.7 ชั้นแมมมาเลีย (Mammalia) สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ได้แก่ แพลทิปัสปากเป็ด(duck-billed platypus) สัตว์มีถุงหน้าท้อง (marsupials) เช่น จิงโจ้ โอพอส ซัม แทสมาเนียนเดวิล สัตว์มีรก (placenta) เช่น กระรอก กระต่าย วัว  ควาย ช้าง แรด ลิง คน

เซลล์พวกยูคาริโอต (Eukaryote)


เซลล์พวกยูคาริโอต (Eukaryote)

มีลักษณะสำคัญคือ 
  1. มีเยื่อหุ้มเซลล์ชัดเจนและเยื่อหุ้มนิวเครียสเป็นชนิดยูนิตเมมเบรน มีนิวคลีโอลัสอยู่ภายใต้นิวเครียส ทำให้เห็นลักษณะของเซลล์มีนิวเครียสที่แท้จริงอยู่ภายใน
  2. มีโครโมโซมหลายอัน และมักพบว่ามี ฮิสโทนปนอยู่ มีการแบ่งเซลล์แบบไมโทซิส พบบว่ามีท่อขนาดเล็กและสายใใยสปินเดิลช่วยดึงแยกโครโมโซม การเจริญ
    เพิ่มจำนวนขของเซลล์มีได้ทั้งแบบไมโทซิสและไมโอซิส ถ้าหากเป็นสิ่งมีชีวิตที่ประกอบด้วยเซลล์พวกยูคาริโอต จะมีการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ ซึ่งเซลล์สืบพันธุ์มีการแบ่งเซลล์แบบไมโอซิสอาจมีการเปลี่ยนแปลงโครโมโซมทั้งอันได้
  3. ปกติจะมีสารรพวกสเตียรอลเป็นส่วนประกอบของเยื่อหุ้มเซลล์
  4. ปกติเยื่อหุ้มของโครงสร้างต่างๆ ภายในไซโทพลาสมิกเรติคิวลัม
  5. มีไไรโบรโซมที่มีขนาดใหญ่กว่า
  6. มีพวกออร์แกเนลล์ต่างๆที่มีเยื่อหุ้มแบบง่ายๆภายในไซโทพลาซึม
  7. ระบบหายใจที่ใช้ออกชิเจนจะเกิดในไมโทคอนเดรีย
  8. เซลล์บางชนิดที่สังเคราะห์แสงได้นั้น ส่วนที่ช่วยสังเคราะห์แสงจะอยู่ในคลอโรพลาสต์
  9. โครงสร้างที่ช่วยในการเคลื่อนไหวของเซลล์ที่เคลื่อนไหวได้ มีทั้งแบบแฟลเจลลัมและซีเลีย ซึ่งมีขนาดใหญ่กว่าของพวกโปรคาริโอต
  10. ปกติเซลล์มีขนาดใหญ่ ตั้งแต่ 2 ไมครอนขึ้นไปถึงใหญ่กว่า 100 ไมครอน
  11. ผนังของเซลล์มีหลายแบบ ถ้าเป็นราส่วนใหญ่มีไคทิน พืชส่วนใหญ่มีเซลลูโลส ส่วนสัตว์ไม่มี

เซลล์พวกโปรคาริโอต (Prokaryote)


เซลล์พวกโปรคาริโอต (Prokaryote)
มีลักษณะสำคัญคือ
  1. ไม่มีเยื่อหุ้มนิวเครียสดีเอ็นเอหรือโครโมโซมอยู่ในไซโทพลาซึม เมื่อดูด้วยกล้องบจุลทรรศน์จะเห็นว่าเซลล์ไม่มีนิวเครียสที่ชัดเจน ยกเว้นในระยะที่เซลล์มี
    การแบ่งตัวดีเอ็นเอหรือโครโมโซมจะจับกลุ่มกันหนาแน่นทำให้มองเห็นทึบแสง เรียกว่า นิวคลีออยด์
  2. ปกติมีดีเอ็นเอเพียงหนึ่งโมเลกุลและไม่มีสารพวก ฮิสโทน ปน การรเจริญเพิ่มจำนวนจจึงเป็นไปในรูปแบบจากหนึ่งเป็นสอง คล้ายๆแบ่งครึ่งหรือแบ่งท่อน
    แต่จะไม่มีการแบ่งเซลล์แบบไมโทซิส บางกรรณีอาจมีการสับเปลี่ยนยีนบางส่วนได้คล้ายๆกันกับการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ
  3. ส่วนประกอบของเยื่อหุ้มเซลล์ปกติจะไม่มีสารพวกสเตียรอล
  4. เยื่อหุ้มของโครงสร้างต่างๆภายในไซโทรพลาซึมจะเป็นแบบง่ายๆ เช่น เยื่อหุ้มของโซโซม
  5. มีไรโบโซมชนิดที่มีขนาดเล็ก
  6. ไม่มีออล์แกเนลล์ ที่มีเยื่อหุ้มแบบง่ายๆภายในไซโทรพลาซึม
  7. ระบบหายใจที่ใช้ออกซิเจนจะเกิดที่เยื่อหุ้มเซลล์หรือโซโซม
  8. พวกโปรคาริโอตบางชนิดที่สามารถสังเคราะห์แสงได้ ส่วนโครงสร้างที่จะช่วยสังเคราะห์แสงจะอยู่ในเยื่อหุ้มภายใน ไม่มีคลอโรพลาสต์
  9. โครงสร้างที่ช่วยในการเคลื่อนไหวของเซลล์พวกที่เคลื่อนไหวได้จะเป็นแฟลเจลลัม ซึ่งมีขนาดเล็กมากและไม่มีอะไรหุ้ม
  10. เซลล์ทั่วๆไปมีขนาดเล็ก มักมีเส้นผ่านศูนย์กลางเล็กกว่า 2 ไมครอน
  11. ผนังเซลล์มีเพปทิโดไกลแคน ยกเว้นพวก ไมโคพลาสมา

ความหลากหลายของสิ่งมีชีวิต


ความหลากหลายของสิ่งมีชีวิต
       ชื่อสามัญ หมายถึง ชื่อที่ใช้เรียกสิ่งมีชีวิตในท้องถิ่นต่างๆไม่ว่าจะเป็นภาษาใดก็ตาม

       ชื่อวิทยาศาสตร์(SCIENTIFIC NAME) เป็นชื่อที่ตั้งขึ้นเพื่อให้ใช้เป็นหลักสากลเดียวกัน การเขียนหรือพิมพ์ชื่อวิทยาศาสตร์ ต้องให้แตกต่างจากข้อความทั่วไป โดยอาจพิมพ์ด้วยตัวเอง หรือ ขีดเส้นใต้ทั้งสองคำแยกจากกันคำนำหน้าเป็นชื่อจีนัส ขึ้นต้นด้วยอักษรตัวใหญ่ คำหลังขึ้นต้นด้วยอักษรตัวเล็กเป็นชื่อเฉพาะ ซึ่งอาจแสดงรูปพรรณสัญฐาน หรือที่มาเช่น Homo sapiens หรือ Taenia solium เป็นต้น

การจัดหมวดหมู่ของสิ่งมีชีวิต
       เรียงลำดับจากกลุ่มใหญ่ไปยังกลุ่มย่อยคือ
       สปีชีส์ หมายถึง หน่วยย่อยที่สุดในการจัดหมวดหมู่ของสิ่งมีชีวิต สิ่งมีชีวิตสปีชีส์เดียวกัน จะมีโครงสร้างและหน้าที่ของอวัยวะต่างๆ เหมือนกันมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกันทางบรรพบุรุษ และ ที่สำคัญที่สุด คือ สามารถผสมพันธุ์กันได้ และลูกที่ได้จะต้องไม่เป็นหมัน

อาณาจักรของสิ่งมีชีวิต
       วิทเทเคอร์ (R.H. WHITAKER) จำแนกสิ่งมีชีวิตออกเป็น 5 อาณาจักร คือ อาณาจักรสัตว์ อาณาจักรพืช อาณาฟังไจ อาณาจักรโปรติสตา และ อาณาจักรโมเนอรา

อาณาจักรสัตว์ (KINGDOM ANIMALIA) 
       สัตว์เป็นสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์ ไม่มีคลอโรฟิลล์จึงไม่สามารถสร้างอาหารได้เอง และมีระยะตัวอ่อน (EMBRYO) สิ่งมีชีวิตในอาณาจักรสัตว์แบ่งออกเป็นไฟลัมต่างๆดังนี้
1.     ไฟลัมพอริเฟอรา(PHYLUM PORIFERA)
สัตว์ที่ลำตัวเป็นรูพรุน ได้แก่ ฟองน้ำ
    
2.     ไฟลัมซีเลนเทอราตา(PHYLUM COELENTERATA)
สัตว์ที่มีลำตัวกลวง ระบบประสาทเป็นแบบร่างแหประสาท(NERVE NET) ได้แก่ แมงกะพรุน ดอกไม้ทะเล ปะการัง กัลปังหา และไฮดรา
   
3.     ไฟลัมแพลทิเฮลมินทิส(PHYLUM PLATYHELMINTHES)
หนอนตัวแบนเป็นสัตว์กลุ่มแรกที่มีเนื้อเยื่อ 3 ชั้น ได้แก่ พยาธิใบไม้ พยาธิตัวตืด และพลานาเรีย
    
4.     ไฟลัมนีมาโทดา(PHYLUM NEMATODA)
หนอนตัวกลม ไม่มีปล้อง เคลื่อนที่ด้วยการเอี้ยวตัวสลับกันไปมา ได้แก่ พยาธิตัวกลมต่างๆ เช่น พยาธิไส้เดือน ไส้เดือนฝอย และหนอนในน้ำส้มสายชู
    
5.     ไฟลัมแอนนิลิดา (PHYLUM ANNILIDA)
หนอนปล้องเป็นพวกแรกที่มีระบบเลือดแบบปิด ขับถ่ายโดยเนฟริเดียม (NEPRIDIUM) ได้แก่ ไส้เดือนดิน แม่เพรียง หากดูดเลือด และปลิงน้ำจืด
6.     ไฟลัมอาร์โทรโปดา (PHYLUM ARTHROPODA)
สัตว์ที่มีขาและรยางค์อื่นๆ ต่อกันเป็นข้อๆ เป็นสัตว์กลุ่มใหญ่ที่สุดในอาณาจักรสัตว์ ได้แก่ กุ้ง กั้ง ปู แมลง เห็บ ไร ตะขาบ กิ้งกือ แมงมุม แมงดาทะเล
   
7.     ไฟลัมมอลลัสกา(PHYLUM MOLLUSCA)
สัตว์ที่มีลำตัวอ่อนนุ่ม ได้แก่ หมึกและหอยชนิดต่างๆ
    
8.     ไฟลัมเอไคโนเดอร์มาตา (PHYLUM ECHINODERMATA)
สัตว์ที่ผิวหนังมีหนามขุรขระ ได้แก่ ดาวทะเล เม่นทะเล เหรียญทะเล ปลิงทะเล ดาวเปราะ
   

 ตัวอย่างข้อสอบ
สิ่งมีชีวิตพวกใดบ้างที่อาศัยอยู่ในทะเลทั้งหมด
1.     PORIFERA
2.     ECHINODERMATA
3.     MOLLUSCA
4.     COELENTERATA

ก.     เฉพาะข้อ 1.
ข.     เฉพาะข้อ 2.
ค.     ข้อ 1 และ ข้อ 2
ง.     ข้อ 3 และ ข้อ 4
ตอบ ข.
 
9.     ไฟลัมคอร์ดาตา (PHYLUM CHORDATA)
สัตว์ที่มีแกนกลางของร่างกายสัตว์ในไฟลัมนี้มีลักษณะร่วมกัน 3 ประการคือ
1.      มีแท่งโนโตคอร์ด(NOTOCHORD) อย่างน้อยชั่วระยะหนึ่งชองชีวิต
2.      มีไขสันหลังเป็นหลอดยาวอยู่ทางด้านหลัง
3.      มีอวัยวะสำหรับแลกเปลี่ยนก๊าซที่บริเวณคอหอย(หรืออาจเปลี่ยนแปลงไปเป็นอวัยวะอื่นเช่น ปอด)
สัตว์กลุ่มนี้แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่คือ
1.      PROTOCHORDATE เป็นสัตว์ทะเลทั้งสิ้น ไม่มีกระดูกสันหลัง แต่มีโนโตคอร์ดเป็นแกนกลางของร่างกายได้กี่เพรียงหัวหอม และ AMPHIOXUS
2.      VERTEBRATE ได้แก่สัตว์ที่มีกระดูกสันหลังทั้งหมด ได้แก่
- CLASS OSTEICTHYES ได้แก่ ปลากระดูกแข็ง เช่น ปลาหมอ ปลาช่อน ปลาทู ม้าน้ำ
 
- CLASS CHONDRICTHYES ได้แก่ ปลากระดูกอ่อน เช่น ปลาฉลาม ปลากระเบน

- CLASS AMPHIBIA ได้แก่สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ เช่นกบ ซาลามานเดอร์ งูดิน

- CLASS REPTLIA ได้แก่ สัตว์เลื้อยคลาน เช่นงู จระเข้ กิ้งก่า เต่า
 
- CLASS AVES ได้แก่ สัตว์ปีกต่างๆ เช่น นก เป็ด ไก่
 
- CLASS MAMMALIA ได้แก่ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม เช่น วาฬ โลมา ช้าง ม้า วัว ควาย คน ลิง
 
ข้อควรระวัง
ชื่อของสัตว์ที่นักเรียนมักสับสน
ตัวอย่างข้อสอบ
       ในแง่การจัดหมวดหมู่ระดับไฟลัม สัตว์ในข้อใดมีความหลากหลายที่สุด
ก.     ฟองน้ำ ซีแอนนีโมนี แมงกะพรุน ยุง พยาธิตัวตืด แมงมุม
ข.     กุ้ง กัลปังหา ปะการัง แมงดา ไส้เดือน เม่นทะเล
ค.     ตะขาบ ปลิงทะเล พยาธิใบไม้ ฟองน้ำ แมงมุม พยาธิแส้ม้า
ง.     ฟองน้ำ กัลปังหา พลานาเรีย ไส้เดือน ปู อีแปะทะเล
ตอบ ง.

อาณาจักรพืช (PLANT KINGDOM)
       พืช ประกอบด้วยเซลล์หลายเซลล์ ผนังเซลล์ประกอบด้วยเซลลูโลสมีคลอโรฟิลล์อยู่ในคลอโรพลาสต์สามารถสร้างอาหาร ได้เองโดยใช้พลังงานแสงสิ่งมีชีวิตในอาณาจักรพืชแบ่งออกเป็นดิวิชั่นต่างๆดังนี้
1.     DIVISION BRYOPHYTA พืชที่ไม่มีระบบท่อลำเลียง ได้แก่ มอส และ ลิเวอร์เวิร์ต
  

2.     DIVISION PSILOPHYTA หวายทะเล (PSILOTUM)
 

3.     DIVISION LYCOPHYTA ช้องนามคลี่ และ ตีนตุ๊กแก
  

4.     DIVISION SPHENOPHTYA หญ้าถอดปล้อง หรือ หญ้าหางม้า

5.     DIVISION PTEROPHYTA เฟิร์น เช่น แหนแดง จอกหูหนู ชายผ้าสีดา ย่านลิเภา เฟิร์นในมะขาม


ข้อควรจำ
       ลักษณะที่เด่นชัดที่สุดของเฟิร์น คือ ใบอ่อนจะม้วนเป็นวงคล้ายลานนาฬิกา (CIRCINATE VERNATION)
6.     DIVISION CONIFEROPHYTA สน เช่น สนสองใบ สนสามใบ
   

7.     DIVISION CYCADOPHYTA ปรง
    

8.     DIVISION GINKGOPHYTA แปะก๊วย (Ginkgo biloba)
 

ข้อควรจำ
       พืชพวกสน ปรง และ แป๊ะก๊วยมีเมล็ดที่ไม่มีรังไข่ห่อหุ้ม เรียกว่า STROBILUS หรือ CONE เรียกรวมกันว่า พวกจิมโนสเปิร์ม (GYMNOSPERM)
9.     DIVISION ANTHOPHYTA พืชมีดอก (ANGIOSPERM) มีมากกว่า พืชอื่นๆ รวมกันทั้งหมด เป็นพวกที่มีดอกเป็นอวัยวะสืบพันธุ์ เมล็ดมีรังไข่ห่อหุ้ม และมีการปฏิสนธิซ้อน แบ่งได้ดังนี้
-     SUBDIVISION MONOCOTYLEDONAE พืชใบเลี้ยงใบเดี่ยวเส้นของใบเรียงขนานกัน จำนวนกลีบดอกเป็น3 หรือ ทวีคูณของ 3 การจัดเรียงท่อน้ำอาหารในลำต้น กระจัดกระจาย ไม่เป็นระเบียบ
-     SUBDIVISION DICOTYLDONAE พืชใบเลี้ยงคู่มีใบเลี้ยงสองใบเส้นของใบสานกันเป็นร่างแห จำนวนกลีบดอกเป็น 4 หรือ 5 หรือ จำนวนที่เป็นทวีคูณของ 4 หรือ 5 การจัดเรียงท่อน้ำท่ออาหารเป็นระเบียบโดยมีท่ออาหารอยู่ภายนอก ท่อน้ำอยู่ภายใน

ข้อควรระวัง
อาณาจักรฟังใจ (KINGDOM FUNGI)
       เห็ดราและยีสต์มีลักษณะทั่วไปคล้ายกับพืชและโปรติสต์ ต่างกันตรงที่ไม่มีรงควัตถุเพื่อใช้ในการสังเคราะห์ด้วยแสง ส่วนใหญ่จึงดำรงชีพ โดยเป็นผู้ย่อยสลายอินทรีย์สาร ประกอบด้วยกลุ่มของเซลล์ ซึ่งมีลักษณะเป็นเส้นใยเรียกว่า (HYPHA) ซึ่งเจริญมาจากสปอร์ กลุ่มของไฮฟา เรียกว่าไมซีเลียม(MYCELIUM) โดยมีไรซอยด์ช่วยยึด ไฮฟาติดกับแหล่งที่อยู่

ราแยกเป็นกลุ่มต่างๆดังนี้
1.     DIVISION ZYGOMYCOTA ราดำ(Rhizopus sp.)ที่ขึ้นบนขนมปัง
2.     DIVISION ASCOMYCOTA ยีสต์ (Saccharocyces sp.) และราสีแดง(Monascus sp.)
3.     DIVISION BASIDIOMYCOTA เห็ดชนิดต่างๆ ตัวอย่างเช่น เห็ดฟาง เห็ดหอม และราสนิม
4.     DIVISION DEUTEROMYCOTA ราสีเขียว (Penicillium sp.) ที่ใช้ในการผลิตยาเพนิซิลิน เราใช้ในการผลิตกรดซิตริก (Aspergillus niger) เป็นต้น

ข้อสังเกต
       นักชีววิทยาแยกเห็ดรา ออกมาจากอาณาจักรโปรติสตาเนื่องจากมีข้อแตกต่างกันหลายประการ เช่น รูปแบบของการหาอาหารของสิ่งมีชีวิต

 ตัวอย่างข้อสอบ
         ลักษณะสำคัญที่สุดที่ทำให้จัดราแยกโปรติสต์คือ
ก.     มีหลายเซลล์
ข.     สังเคราะห์แสงไม่ได้
ค.     ไม่มีระยะต้นอ่อน
ง.     เซลล์ไม่มีความซับซ้อน
ตอบ ข.

อาณาจักรโปรติสตา (PROTISTA KINGDOM)
       โปรติสต์ เป็นสิ่งมีชีวิตที่มีโครงสร้างไม่ซับซ้อน ประกอบด้วยเซลล์ชนิดยูคาริโอติกเซลล์โดยอาจประกอบด้วยเซลล์เดียว หรือ หลายเซลล์ที่มิได้รวมกันเป็นเนื้อเยื่อ สามารถทำหน้าที่ของสิ่งมีชีวิตได้ครบถ้วนในเซลล์เดียว
1.     ไฟลัมโปรโตซัว (PHYLUMPROTOZOA) อะมีบา พารามีเซียม ยูกลีนส พลาสโมเดียม
2.     ไฟลัมคลอโรไฟตา (PHYLUM CHLOROPHYTA) สาหร่ายสีเขียวเช่น สไปโรไจนา (Spirogyra sp.) และ คลอเรลลา(Chlorella sp.) ซึ่งเป็นอาหารที่มีโปรตีนสูงเป็นโปรติสต์กลุ่มใหญ่ที่สุด
3.     ไฟลัมคริโซไฟตา (PHYLUM CHRYSOPHYTA) สาหร่ายสีน้ำตาล แกมเหลือง ได้แก่ ไดอะตอม
4.     ไฟลัมฟีโอไฟตา (PHYLUM PHAEOPHYTA) สาหร่ายสีน้ำตาล เช่น เคลป์(KELP) มีขนาดใหญ่ สาหร่ายที่สำคัญ ได้แก่ Laminaria sp. และ สาหร่ายทุ่น (Sargassum sp.)
5.     ไฟลัมโรโดไฟตา (PHYLUM RHODOPHYTA) สาหร่ายสีแดง เช่น จีฉ่าย (Prophyra sp.) และ Gracilaria sp.
6.     ไฟลัมมิกไซไมโคไฟตา(PHYLUM MYXOMYCOPHYTA) ราเมือก(SLIME MOLD) เป็นสิ่งมีชีวิตที่มีลักษณะร่วมกันระหว่างพืชและสัตว์ ส่วนใหญ่จะดำรงชีพเป็นผู้ย่อยสลาย

 ข้อสังเกต
       การจำแนกสาหร่ายออกเป็นดิวิชั่นต่างๆ จะใช้ชนิดของรงควัตถุที่ใช้ในการสังเคราะห์แสดงเป็นหลักเกณฑ์ที่สำคัญ

 ตัวอย่างข้อสอบ
       เซลล์ของยูกลีนาแตกต่างจากเซลล์ของสาหร่ายทั่วไปในข้อใด
1.     ไม่มี CELL WALL
2.     มี CONTRACTILE VACUOLE
3.     มี PHOTOSYNTHETIC PIGMENTS แบบเดียวกับสาหร่ายเกลียวทอง
4.     สามารถดำรงชีวิตแบบ HETEROTYPE ได้
ก.     1,2
ข.     2,3,4
ค.     1,2,3
ง.     1,2,4
ตอบ ง.

อาณาจักรโมเนอรา (KINGDOM MONERA)
       สิ่งมีชีวิตในอาณาจักรนี้เป็นพวกที่มีเซลล์เป็นแบบโปรคาริโอติกเซลล์
1.     ไฟลัมชิโซไมโคไฟตา (PHYLUM SCHIZOMYCOPHYTA) แบคทีเรียเป็นสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว เซลล์ของแบคทีเรียมีผนังเซลล์ซึ่งเป็นพวกคาร์โบไฮเดรตและกรดอะมิโน บางชนิดมีแคปซูลเป็นสารเมือกหุ้มอยู่ เพื่อป้องกันอันตรายแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือรูปร่างกลม(COCCUS) รูปร่างเป็นท่อน(BACILLUS) และพวกที่มีรูปร่างเป็นเกลียว(SPIRILLUM)
2.     ไฟลัมไซยาโนไฟตา (PHYLUM CYANOPHYTA) สาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน(BLUE GREEN ALGAE) เช่น Oscillatoria Sp.,Spirulina Sp.,Anabaena Sp. เป็นต้น

ไวรัส
       เป็นสิ่งที่มีชีวิตขนาดเล็กมาก มองไม่เห็นได้ด้วยกล้องจุลทรรศน์ธรรมดาไม่มีคุณสมบัติประการอื่นของสิ่งมีชีวิต นอกจากความสามารถในการสืบพันธุ์ด้วยการจำลองด้วยตัวเอง (DUPLICATION) ภายในเซลล์ของผู้ถูกอาศัย(HOST) ไวรัสประกอบด้วย DNA หรือ RNA และเปลือกหุ้มที่เป็นโปรตีนไวรัสบางชนิดอาจมีสารอื่น นอกเหนือจากนี้

 ข้อควรจำ
       โรคที่เกิดจากสิ่งมีชีวิตประเภทต่างๆ
 ตัวอย่างข้อสอบ
       โรคในข้อใดที่มีสาเหตุมาจากไวรัส แบคทีเรีย โปรโทรซัว และ เชื้อราตามลำดับ
ก.     โรคพิษสุนัขบ้า กลาก คอตีบ มาเลเรีย
ข.     ไข้หวัดใหญ่ วัณโรค ไข้มาลาเรีย กลาก
ค.     งูสวัด ตับอักเสบ ปอดบวม ไอกรน
ง.     โรคเอดส์ บาดทะยัก ไส้ติ่งอักเสบ โรคเรื้อน
ตอบ ข.

       สิ่งมีชีวิตในข้อใดที่กระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง ไม่ได้ เกิดขึ้นในคลอโรพลาสต์
ก.     สาหร่ายสีน้ำตาล
ข.     สาหร่ายสีแดง
ค.    ไซยาโนแบคทีเรีย
ง.     ไดอะตอม
ตอบ ค.

กด LIKE แล้วติดตามการอัพเดตได้ในหน้าแรกFACEBOOK ตลอด

ร่วมกดไลค์เพื่อแชร์ไปให้เพื่อนๆทุกคน