วันพฤหัสบดีที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2554

ข้อสอบแข่งขันเพื่อบรรจุบุคคลเข้ารับราชการในสังกัดกรมการปกครอง


ข้อสอบแข่งขันเพื่อบรรจุบุคคลเข้ารับราชการในสังกัดกรมการปกครอง

ข้อสอบแข่งขันเพื่อบรรจุบุคคลเข้ารับราชการในสังกัดกรมการปกครอง
ตำแหน่งเจ้าพนักงานปกครอง 3 และเจ้าพนักงานปกครอง 4
(ภาคความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่ง)
วันอาทิตย์ที่ 19 พฤษภาคม 2539 ณ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
1. นโยบายรัฐบาลระบุว่าจะแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 211 ท่านเข้าใจว่ามาตรา 211 คืออะไร
1. บทบัญญัติว่าด้วยการจัดให้มีคณะกรรมการกำกับดูแลการเลือกตั้ง (กลต.)
2. บทบัญญัติว่าด้วยวิธีการแก้ไขกฎหมายรัฐธรรมนูญ
3. บทบัญญัติว่าด้วยการจัดให้มีคณะกรรมการการปฏิรูปทางการเมือง เพื่อเสนอแนะการยกร่างกฎหมาย
4. บทบัญญัติว่าด้วยการจัดให้มีศาลปกครอง
5. บทบัญญัติว่าด้วยการจัดตั้งคณะกรรมการยกร่างกฎหมายรัฐธรรมนูญขึ้นเพื่อประกาศใช้ใหม่
2. ผลการเลือกตั้งซ่อมที่จังหวัดสุรินทร์และเชียงราย เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคมที่ผ่านมา มีผู้สมัครของพรรคการเมือง ใดบ้างที่ได้รับการเลือกตั้ง
1. เชียงราย - ชาติพัฒนา สุรินทร์ - ความหวังใหม่
2. เชียงราย - ความหวังใหม่ สุรินทร์ - ชาติไทย
3. เชียงราย - ความหวังใหม่ สุรินทร์ - ชาติพัฒนา
4. เชียงราย - ชาติไทย สุรินทร์ - ความหวังใหม่
5. เชียงราย - ประชาธิปัตย์ สุรินทร์ - ความหวังใหม่
3. กลุ่มประเทศอาเซียนมีสมาชิกกี่ประเทศ
1. 6 ประเทศ 2. 7 ประเทศ
3. 8 ประเทศ 4. 9 ประเทศ
5. 10 ประเทศ
4. โครงการสามเหลี่ยมเศรษฐกิจ (IMT-GT) เป็นความร่วมมือระหว่างประเทศอะไรบ้าง
1. อินโดจีน เมียนมาร์ ไทย 2. อินโดนีเซีย เมียนมาร์ ไทย
3. มาเลเซีย สิงคโปร์ ไทย 4. อินโดนีเซีย มาเลเซีย ไทย
5. มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ ไทย
5. หน่วยการปกครองครองท้องถิ่นไทยมีกี่รูป
1. 7 รูป 2. 6 รูป
3. 5 รูป 4. 4 รูป
5. 3 รูป
6. กระแสโลกาภิวัฒน์คืออะไร
1. กระแสของการที่ประเทศต่างๆ ในโลกไม่มีพรมแดน
2. กระแสของการที่โลกมีสภาพไร้พรมแดน โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านเศรษฐกิจ วัฒนธรรม ความเชื่อ
3. กระแสการเปลี่ยนแปลงของโลกที่เทคโนโลยีสารสนเทศเจริญ ทำให้ติดต่อกันได้อย่างรวดเร็ว
4. กระแสให้ความสำคัญภาคเอกชน ลดบทบาทของรัฐลง
5. ไม่มีข้อใดถูก
7. ข้อใดไม่ใช่รูปแบบใหม่ในการบริหารงานภาครัฐ
1. ผู้รับบริการมีความสำคัญสูงสุด
2. ลดขั้นตอนและความล่าช้า เพื่อเพิ่มความรวดเร็ว
3. ส่งเสริมให้ผู้ปฏิบัติงานมีอำนาจในการทำงานมากขึ้น
4. ตัดขั้นตอนการทำงานให้เรียบง่าย
5. เจ้าหน้าที่ของรัฐควรเข้ารับผิดชอบดำเนินงานที่เป็นการบริการประชาชนทุกเรื่องให้ได้
8. หน่วยการปกครองท้องถิ่นระดับรากหญ้าหรือหน่วยพื้นฐานที่สุดของไทย คือ
1. คณะกรรมการคุ้มหรือแขวง 2. คณะกรรมการหมู่บ้าน
3. คณะกรรมการสภาตำบล 4. องค์การบริหารส่วนตำบล
5. สุขาภิบาล
9. ข้อใดเป็นเทคนิคการบริหารที่ใช้ในการวิเคราะห์จัดทำโครงการ
1. Logical Framework หรือ Log-Frame
2. ffice:smarttags" />Zeil Orientiete Project Planung หรือ Zopp
3. Conventional
4. ถูกเฉพาะข้อ 1. และข้อ 2.
5. ถูกทั้งข้อ 1. , 2. และข้อ 3.
10. ประธานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน ได้แก่
1. นายกรัฐมนตรี 2. รองนายกรัฐมนตรี
3. เลขาธิการ ก.พ. 4. นายกรัฐมนตรีหรือรองนายกรัฐมนตรีที่ นายกรัฐมนตรีมอบหมาย
5. ไม่มีข้อใดถูก
11. ข้าราชการพลเรือนสามัญมีกี่ประเภท
1. 2 ประเภท 2. 3 ประเภท
3. 4 ประเภท 4. 5 ประเภท
5. 6 ประเภท
12. โทษทางวินัยตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน ได้แก่
1. ตัดเงินเดือน ลดขั้นเงินเดือน ปลดออก ไล่ออก
2. ภาคทัณฑ์ ตัดเงินเดือน ลดขั้นเงินเดือน ให้ออก ปลดออก ไล่ออก
3. ตัดเงินเดือน ลดขั้นเงินเดือน ให้ออก ปลดออก ไล่ออก
4. ภาคทัณฑ์ ตัดเงินเดือน ลดขั้นเงินเดือน ปลดออก ไล่ออก
5. ทัณฑ์บน ภาคทัณฑ์ ตัดเงินเดือน ลดขั้นเงินเดือน ปลดออก ไล่ออก
13. พระราชบัญญัติระเบียบราชการพลเรือนที่บังคับใช้อยู่ในปัจจุบัน ได้แก่
1. พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2518
2. พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2522
3. พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2531
4. พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2535
5. พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2537
14. ข้อใดมิใช่คุณสมบัติของผู้ที่จะเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือน
1. มีสัญชาติไทย 2. ไม่เป็นบุคคลล้มละลาย
3. มีอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปี 4. ไม่เป็นผู้ดำรงตำแหน่งข้าราชการทางการเมือง
5. ไม่เป็นกรรมการพรรคการเมือง
15. ผู้มีอำนาจตีความและวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วย งานสารบรรณ พ.ศ.2526 คือ
1. ปลัดกระทรวง 2. เลขาธิการ ก.พ.
3. ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี 4. เลขาธิการนายกรัฐมนตรี
5. ผู้อำนวยการกองกฎหมายและระเบียบ
16. หนังสือราชการที่ใช้ติดต่อระหว่างส่วนราชการกับส่วนราชการกับบุคคลภายนอกเฉพาะกรณีที่ไม่ใช่เรื่องสำคัญ
1. หนังสือภายนอก 2. หนังสือประทับตรา
3. หนังสือภายใน 4. บันทึกข้อความ
5. ถูกทุกข้อ
17. หนังสือที่ต้องใช้เจ้าหน้าที่ปฏิบัติเร็วกว่าปกติเท่าที่จะทำได้ คือหนังสือที่ระบุชั้นความเร็วกว่า
1. ด่วน 2. ด่วนมาก
3. ด่วนที่สุด 4. ด่วนภายใน
5. ดำเนินการด่วน
18. การเก็บหนังสือแบ่งออกเป็น
1. การเก็บระหว่างปฏิบัติ การเก็บเมื่อปฏิบัติเสร็จแล้ว การเก็บไว้เพื่อใช้ในการตรวจสอบ
2. การเก็บก่อนปฏิบัติ การเก็บระหว่างปฏิบัติ และการเก็บเมื่อปฏิบัติเสร็จแล้ว
3. การเก็บรักษา การยืม และการทำลายหนังสือ
4. การจัดทำบัญชีหนังสือ การลงทะเบียน และการทำลาย
5. ไม่มีข้อใดถูก
19. หนังสือที่เจ้าหน้าที่ทำไว้เป็นหลักฐานในราชการชนิดใด ที่ให้ติดรูปถ่ายบุคคลถ้าเป็นเรื่องสำคัญ
1. รายงานการประชุม 2. ข่าว
3. แถลงการณ์ 4. หนังสือรับรอง
5. ระเบียบ
20. หนังสือประชาสัมพันธ์ ได้แก่
1. ประกาศ 2. คำสั่ง
3. แถลงการณ์ 4. ข่าว
5. ถูกเฉพาะข้อ 1. ข้อ 3. และข้อ 4.
21. บรรดาข้อความที่ผู้มีอำนาจหน้าที่ได้วางไว้ โดยจะอาศัยอำนาจของกฎหมายหรือไม่ก็ได้ เพื่อถือเป็นหลัก ปฏิบัติงานเป็นการประจำเรียกว่า
1. คำสั่ง 2. ระเบียบ
3. แนวปฏิบัติ 4. ข้อบังคับ
5. หนังสือเวียน
22. ผู้มีสิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้
1. อายุไม่ต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์ในวันเลือกตั้ง
2. อายุไม่ต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์ในวันที่ 1 มกราคม ของปีที่มีการเลือกตั้ง
3. อายุไม่ต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์ในวันสุดท้ายของวันสมัครรับเลือกตั้ง
4. อายุไม่ต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์ในวันครบรอบอายุของสภาผู้แทนราษฎร
5. อายุไม่ต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์ในปีที่มีการเลือกตั้ง
23. สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจำนวนเท่าใดมีสิทธิเข้าชื่อเสนอญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไป เพื่อลงมติไม่ไว้วางใจ รัฐมนตรี เป็นรายบุคคลหรือทั้งคณะ
1. ไม่น้อยกว่าครึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร
2. ไม่น้อยกว่าหนึ่งในสามของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร
3. ไม่น้อยกว่าหนึ่งในสี่ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร
4. ไม่น้อยกว่าหนึ่งในห้าของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร
5. ไม่น้อยกว่าหนึ่งในห้าของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของรัฐสภา
24. ข้อใดไม่ใช่หน้าที่ของปวงชนชาวไทยตามรัฐธรรมนูญ
1. รักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมตามที่กฎหมายบัญญัติ
2. ใช้สิทธิในการเลือกตั้งโดยสุจริต
3. รักษาความสงบเรียบร้อยตามที่กฎหมายบัญญัติ
4. รับการศึกษาอบรมตามที่กฎหมายบัญญัติ
5. เสียภาษีอากรตามที่กฎหมายบัญญัติ
25. บุคคลต่อใดไปนี้ไม่ใช่ตุลาการรัฐธรรมนูญ
1. ประธานรัฐสภา 2. ประธานวุฒิสภา
3. ประธานศาลฎีกา 4. ประธานองคมนตรี
5. อัยการสูงสุด
26. หลักการทั่วไปในการจัดระเบียบการปกครองประเทศที่นิยมใช้ โดยเฉพาะประเทศที่มีรูปแห่งรัฐเป็นแบบรัฐรวม ได้แก่
1. หลักการรวมอำนาจการปกครอง 2. หลักการกระจายอำนาจการปกครอง
3. หลักการแบ่งอำนาจการปกครอง 4. หลักการรวมอำนาจและการกระจายอำนาจการ ปกครอง
5. ถูกทั้งข้อ 1. ข้อ 2. และข้อ 3.
27. ข้อใดม่ถือเป็นความสำคัญของการปกครองท้องถิ่น
1. เป็นรากฐานการปกครองระบอบประชาธิปไตย
2. ประชาชนในท้องถิ่นรู้จักปกครองตนเอง
3. รัฐบาลแบ่งอำนาจและมอบอำนาจให้ประชาชนในท้องถิ่น
4. สามารถสนองความต้องการของท้องถิ่นได้ตรงเป้าหมาย
5. ไม่มีข้อใดถูก
28. ข้อใดไม่ใช่ลักษณะของการมีส่วนร่วมทางการเมือง
1. การไปใช้สิทธิเลือกตั้ง กทม. 2. การเป็นสมาชิกกลุ่มผลประโยชน์
3. การเป็นสมาชิกพรรคการเมือง 4. การรวมพลัง เดินขบวน ประท้วงรัฐบาล
5. ไม่มีข้อใดถูก
29. การจัดระเบียบการปกครองประเทศไทยในสมัยสุโขทัย แบ่งเขตการปกครอง ดังนี้
1. ราชธานี เมืองลูกหลวง 2. เมือง อำเภอ ตำบล
3. ราชธานี เมืองชั้นใน ประเทศราช 4. ราชธานี เมืองพระยามหานคร หัวเมืองประเทศราช
5. ราชธานี เมืองลูกหลวง มณฑล ประเทศราช
30. เมืองพัทยาจัดตั้งโดย
1. พระบรมราชโองการ 2. พระราชกฤษฎีกา
3. พระราชกำหนด 4. พระราชบัญญัติ
5. ประกาศกระทรวงมหาดไทย
31. สมาชิกสภาตำบลประกอบด้วย
1. กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน 2. สมาชิกซึ่งได้รับการเลือกตั้ง
3. สมาชิกโดยตำแหน่ง และที่มาจากการเลือกตั้งหมู่บ้านละ 1 คน
4. กำนัน แพทย์ประจำตำบล ผู้ใหญ่บ้าน 5. ไม่มีข้อใดถูก
32. การกำหนดเป้าหมายที่ดีจะช่วยนำทางให้แก่ผู้บริหาร ลักษณะของเป้าหมายที่ดีเป็นอย่างไร
1. เหมาะสม มีคุณค่า และเป็นไปได้ 2. มีความเป็นอันหนึ่งอันเดียว
3. มีความยืดหยุ่นและปรับได้ตามสถานการณ์ 4. สามารถตรวจสอบ ประเมิน และวัดผลได้
5. ถูกทุกข้อ
33. ข้อใดไม่ใช่ขั้นตอนการกำหนดแผน
1. การศึกษาและวิเคราะห์สถานการณ์ที่เกี่ยวข้อง
2. การจัดทำแผนปฏิบัติการประจำปี
3. การกำหนดแนวทางปฏิบัติ และการตัดสินใจเลือกแนวทางการปฏิบัติที่เหมาะสม
4. การกำหนดกิจกรรมและลำดับการปฏิบัติโดยละเอียด
5. การกำหนดวิธีการติดตาม ตรวจสอบ ควบคุม และประเมินผล
34. "อริยสัจสี่" ประกอบด้วย ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค นำมาประยุกต์กับการวางแผนได้อย่างไร
1. ปัญหา วิเคราะห์ปัญหา แนวทางแก้ปัญหา เลือกแนวทางแก้ปัญหาที่ดีที่สุด
2. วิเคราะห์ปัญหา เลือกปัญหา หาสาเหตุ แก้ปัญหา
3. กำหนดปัญหา วิเคราะห์ปัญหา กำหนดทางแก้ไข ปฏิบัติจริง
4. เลือกปัญหา หาสาเหตุ กำหนดทางแก้ไข ลงมือปฏิบัติ
5. ปัญหา สาเหตุของปัญหา วัตถุประสงค์ แนวทางในการปฏิบัติ
35. ข้อใดมิใช่ขั้นตอนของการบริหารงานโดยวัตถุประสงค์ (MBO)
1. ผู้ใต้บังคับบัญชามีส่วนร่วมในการกำหนดวัตถุประสงค์และเป้าหมายของงาน
2. ร่วมกันกำหนดมาตรฐานในการปฏิบัติงานให้ชัดเจน
3. ร่วมกันกำหนดแผนปฏิบัติการ
4. ลงมือปฏิบัติอย่างอิสระ ผู้บังคับบัญชาให้คำแนะนำเป็นครั้งคราว และประเมินผลร่วมกัน
5. ไม่มีข้อใดถูก
36. ข้อใดคือ "อกุศลมูล"
1. กามวิตก พยาบาทวิตก วิหังสาวิตก 2. กายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต
3. โลภะ โทสะ โมหะ 4. ภยาคติ ฉันทาคติ โทสาคติ
5. ไม่มีข้อใดถูก

37. การประชุม ASEM ครั้งต่อไปในปี 2541 และ 2543 จะมีขึ้นที่ประเทศใด (การประชุมผู้นำเอเชีย-ยุโรป)
1. สิงคโปร์ มาเลเซีย 2. ฝรั่งเศส อิตาลี
3. ฝรั่งเศส ญี่ปุ่น 4. เกาหลีใต้ สหรัฐอเมริกา
5. อังกฤษ เกาหลีใต้
38. ตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน ผู้ว่าราชการจังหวัดอาจมอบอำนาจให้
1. นายอำเภอ 2. หัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัด
3. หัวหน้าส่วนราชการประจำอำเภอ 4. ถูกเฉพาะข้อ 1 และข้อ 2
5. ถูกทั้งข้อ 1. ข้อ 2. และข้อ 3.
39. การบริหารส่วนภูมิภาคตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดินแบ่งออกเป็น
1. จังหวัด อำเภอ กิ่งอำเภอ 2. จังหวัด อำเภอ
3. จังหวัด อำเภอ กิ่งอำเภอ ตำบล หมู่บ้าน 4. จังหวัด อำเภอ ส่วนราชการประจำจังหวัด กิ่งอำเภอ
40. การเปลี่ยนแปลงเขตอำเภอกระทำโดย
1. ตราเป็นพระราชบัญญัติ 2. ประกาศกระทรวงมหาดไทยลงในราชกิจจานุเบกษา
3. ตราเป็นพระราชกฤษฎีกา 4. ประกาศจังหวัด
5. ไม่มีข้อใดถูก
41. ตัวการ หมายถึง
1. บุคคลที่ลงมือกระทำความผิด 2. บุคคลซึ่งใช้ผู้อื่นกระทำความผิด
3. บุคคลที่ช่วยเหลือผู้อื่นในการกระทำความผิด 4. บุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไปร่วมกันกระทำผิด
5. บุคคลซึ่งเป็นผู้วางแผนในการกระทำความผิด
42. การพิจารณาว่าความผิดใดเป็นความผิดลหุโทษนั้น พิจารณาจาก
1. ความร้ายแรงของการกระทำ 2. เจตนากระทำผิดหรือไม่
3. การกระทำความผิดนั้นบรรลุผลหรือไม่ 4. โทษตามที่กฎหมายบัญญัติสำหรับการกระทำนั้น
5. ไม่มีข้อใดถูก
43. การพยายามกระทำความผิดที่ได้กระทำไปโดยตลอดแล้ว แต่การกระทำนั้นไม่บรรลุผล ผู้กระทำจะได้รับโทษ เพียงใด
1. ไม่ต้องรับโทษ 2. กึ่งหนึ่ง
3. สองในสาม 4. หนี่งในสี่
5. แล้วแต่ศาลพิพากษา
44. ดำเป็นตำรวจ ได้รับคำสั่งจาก ร.ต.ต. ขาว ซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาให้ยิงนายเขียว เพราะนายเขียวเป็นผู้ร้าย ถ้าดำยิง นายเขียวตายจะมีความผิดหรือไม่
1. มีความผิดฐานฆ่าคนตาย
2. ไม่มีความผิดเนื่องจากทำตามคำสั่งผู้บังคับบัญชา
3. ไม่มีความผิดเพราะเป็นการปฏิบัติตามหน้าที่
4. มีความผิดแต่อาจได้รับการยกเว้นโทษ ถ้าดำไม่รู้ว่าคำสั่งนั้นไม่ชอบด้วยกฎหมาย และเชื่อโดยสุจริตว่าตนมี หน้าที่ต้องปฏิบัติตาคำสั่ง
5. ไม่มีข้อใดถูก
45. ส่วนราชการใดไม่เป็นนิติบุคคล
1. จังหวัด 2. กระทรวง
3. สุขาภิบาล 4. องค์การบริหารส่วนตำบล
5. อำเภอ
46. ผู้ใดเป็นผู้ที่สามารถร้องขอต่อศาลให้สั่งผู้วิกลจริตเป็นบุคคลไร้ความสามารถ
1. สามี ภรรยา พี่น้อง 2. สามี ภรรยา บุพการี ผู้สืบสันดาน
3. ผู้มีส่วนได้เสีย 4. บิดา มารดา
5. ไม่มีข้อใดถูก
47. การกระทำของผู้เยาว์ข้อใดต้องขอความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรมก่อน
1. การเล่นกับเพื่อน 2. การรับเงินที่มีผู้ให้
3. การรับสภาพหนี้ 4. ถูกทั้งข้อ 2. และ 3.
5. ไม่มีข้อใดถูก
48. ข้อใดไม่ใช่สินสมรส
1. ค่าเช่าที่ดินซึ่งเป็นของหมั้น 2. ทรัพย์สินซึ่งภรรยาซื้อโดยใช่เงินส่วนตัว
3. รถยนต์ซึ่งซื้อภายหลังการสมรส แต่จดทะเบียนเป็นชื่อของสามี
4. เงินที่ภรรยาได้มาจากการขายที่ดินมรดก
5. ไม่มีข้อใดถูก
49. บุตรที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายของบิดาจะเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของบิดา เมื่อ
1. บิดาจดทะเบียนรับรองบุตร 2. บิดา มารดา ได้จดทะเบียนสมรสกัน
3. ศาลพิพากษาให้เป็นบุตรโดยชอบธรรมด้วยกฎหมายของบิดา
4. บิดายินยอมเลี้ยงดูบุตร 5. ถูกทั้งข้อ 1. ข้อ 2. และข้อ 3.
50. ข้อใดผิด
1. ปลัดอำเภอเป็นพนักงานสอบสวนความผิดอาญาที่เกิดภายในเขตอำนาจนอกเขต กทม.
2. พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจชั้นผู้ใหญ่เป็นพนักงานสอบสวนความผิดอาญาซึ่งเกิดขึ้นภายในเขตอำนาจ ในเขต กทม.
3. พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจชั้นผู้ใหญ่เป็นพนักงานสอบสวนความผิดอาญาที่เกิดขึ้นภายในเขตอำนาจนอกเขต กทม.
4. ข้าราชการตำรวจซึ่งมียศ ร.ต.ต. ขึ้นไป เป็นพนักงานสอบสวนความผิดอาญาซึ่งเกิดขึ้นภายในเขตอำนาจใน เขต กทม.
5. ข้าราชการตำรวจซึ่งมียศ ร.ต.ต. ขึ้นไป เป็นพนักงานสอบสวนความผิดอาญาที่เกิดขึ้นภายในเขตอำนาจนอกเขต กทม.
51. บุคคลไม่ใช่พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ
1. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย 2. ปลัดกระทรวงมหาดไทย
3. ปลัดอำเภอ 4. อธิบดีกรมตำรวจ
5. ผู้ใหญ่บ้าน
52. ข้อใดผิด
1. คนไร้ความสามารถคือคนวิกลจริตที่ศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ
2. คนไร้ความสามารถอยู่ในความดูแลของผู้อนุบาล
3. คนเสมือนไร้ความสามารถคือคนวิกลจริตที่มีกายพิการ หรือติดสุรา ไม่สามารถจัดทำการงานโดยตนเองได้
4. คนเสมือนไร้ความสามารถอยู่ในความดูแลของผู้พิทักษ์
5. ไม่มีข้อใดผิด
53. ข้อใดไม่ถือเป็นภูมิลำเนาที่ถูกต้อง
1. ข้าราชการมีภูมิลำเนาอยู่ที่ทำการตามตำแหน่งหน้าที่
2. นักโทษมีภูมิลำเนาตามที่อยู่ครั้งสุดทีท้ายก่อนถูกลงโทษ
3. ผู้เยาว์มีภูมิลำเนาตามภูมิลำเนาของผู้แทนโดยชอบธรรม
4. ผู้ครองชีพเดินทางไปมาไม่มีที่อยู่ พบที่ไหนให้ถือเป็นภูมิลำเนา
5. ไม่มีข้อใดถูก
54. บุคคลในข้อความใดไม่อาจทำพินัยกรรมได้โดยชอบด้วยกฎหมายได้เลย
1. ผู้เยาว์ 2. พระภิกษุ
3. ผู้ที่หูหนวกและเป็นใบ้ 3. หญิงสามีตายยังไม่พ้น 310 วัน
5. ไม่มีข้อใดถูก
55. ข้อใดไม่ใช่อสังหาริมทรัพย์
1. ที่ดินป่าสงวนแห่งชาติ 2. ต้นยางพาราที่ขึ้นเองตามธรรมชาติในวนอุทยาน แห่งชาติ
3. แพที่คนอยู่อาศัย 4. ต้นสักทองในสวนสักของเอกชน
5. ไม่มีข้อใดถูก
56. ผู้เยาว์ข้อใดไม่พ้นภาวะผู้เยาว์ตามกฎหมาย
1. อายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ 2. เมื่อผู้เยาว์มีสิทธิลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง ส.ส.
3. เมื่อผู้เยาว์อายุ 19 ปี และได้จดทะเบียนสมรสถูกต้อง
4. เมื่อผู้เยาว์อายุ 16 ปี และได้จดทะเบียนสมรสโดยคำพิพากษา
5. ไม่มีข้อใดถูก
57. การทำนิติกรรมข้อใดไม่ต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อเจ้าหน้าที่
1. ซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ 2. จะซื้อรถจักรยานยนต์ราคา 75,000 บาท
3. ฝากขายที่ดิน น.ส. 3 4. ปลดจำนองที่ดินมีโฉนด
5. ไม่มีข้อใดถูก
58. การแย่งกรรมสิทธิในทรัพย์สินของผู้อื่นเรียกว่าการครอบครองปรปักษ์ จะต้องครอบครองโดยสงบเปิดเผย เจตนาเป็นเจ้าของ จะต้องใช้เวลาอย่างน้อยกี่ปี
1. 15 ปี ถ้าเป็นที่ดินมีโฉนด 2. 20 ปี ถ้าเป็นที่ดิน น.ส. 3
3. 10 ปี ถ้าเป็นรถยนต์ 4. 5 ปี ถ้าเป็นรถยนต์
5. ไม่มีข้อใดถูก
59. บุคคลต่อไปนี้เป็นพยานนิติกรรมไม่ได้
1. อายุ 16 ปีและได้จดทะเบียนสมรสโยคำพิพากษาของศาล
2. อายุ 17 และได้จดทะเบียนสมรส 3. ตาข้างขวาบอดและแขนข้างขาวด้วน
4. เป็นคนไร้ความสามารถ 5. ถูกทุกข้อ
60. ข้อใดต่อไปนี้ถูกต้องที่สุด
1. สมาชิกวุฒิสภาและ ส.ส. ย่อมเป็นผู้แทนปวงชนชาวไทย
2. ส.ส. ย่อมเป็นผู้แทนปวงชนชาวไทย ส่วนสมาชิกวุฒิสภาเป็นผู้ทรงคุณวุฒิในวุฒิสภา
3. ส.ส. ย่อมเป็นผู้แทนประชาชนในจังหวัดที่ตนได้รับในการเลือกตั้ง ส่วนสมาชิกวุฒิสภาเป็นผู้แทนปวงชนชาว ไทย
4. ส.ส. ย่อมเป็นผู้แทนปวงชนชาวไทยทั้งประเทศ แต่สมาชิวุฒิสภาเป็นผู้ให้คำปรึกษาและตรวจตราการ บริหารงานของคณะรัฐมนตรี
5. ส.ส. ย่อมเป็นผู้แทนปวงชนชาวไทย ส่วนสมาชิกวุฒิสภาเป็นตัวแทนของรัฐบาล
61. โครงสร้างการแบ่งส่วนราชการกรมการปกครองด้านราชการบริหารส่วนภูมิภาค จัดอย่างไร
1. จัดเป็นที่ทำการปกครองสามระดับ คือ จังหวัด อำเภอ กิ่งอำเภอ
2. จัดเป็นที่ทำการปกครองสามระดับคือ จังหวัด อำเภอ ตำบล
3. จัดเป็นที่ทำการปกครองสี่ระดับคือ จังหวัด อำเภอ กิ่งอำเภอ ตำบล ..
4. จัดเป็นที่ทำการปกครองสี่ระดับคือ จังหวัด อำเภอ ตำบล หมู่บ้าน
5. จัดเป็น 1 วิทยาลัย 6 สำนัก 8 กองและสำนักเทียบเท่ากองที่จัดตั้งขึ้นเป็นการภายใน
62. ข้อใดไม่ใช่ หน้าที่ของสำนักบริหารราชการส่วนท้องถิ่น
1. ศึกษา วิเคราะห์วิจัยเพื่อพัฒนาแปรรูปแบบและโครงสร้างของหน่วยการปกครองท้องถิ่น
2. บริหารจัดการศึกษาของหน่วยงานการปกครองท้องถิ่นตามกฎหมายว่าด้วยการประถมศึกษา
3. ดำเนินการและประสานงานเกี่ยวกับการบริหารการคลังและงบประมาณ การจัดเก็บและพัฒนารายได้ของหน่วยการปกครองท้องถิ่น....
4. สนับสนุนการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น ประสานการพัฒนาเมืองศูนย์กลางความเจริญในภูมิภาคและ ปริมณฑล
5. ไม่มีข้อใดถูก
63. ระเบียบกฎหมายหรือข้อบังคับที่ใช้กำหนดอำนาจหน้าที่ของกรมการปกครองเอาไว้
1. พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534
2. พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ 8) พ.ศ. 2536
3. พระราชบัญญัติปกครองท้องที่ พระพุทธศักราช 2547
4. พระราชกำหนดแบ่งส่วนราชการกรมการปกครองฯ พ.ศ. 2536
5. พระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการกรมการปกครองฯ พ.ศ. 2536
64. ข้อใดไม่ใช่อำนาจหน้าที่ของกรมการปกครอง
1. อำนวยการและสนับสนุนการปฏิบัติงานตามอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบของนายอำเภอ http://www.actcorner.com
2. ดำเนินการและประสานงานด้านการให้บริการประชาชนและงานอื่นที่ไม่อยู่ในความรับผิดชอบของ หน่วยงานใดในระดับอำเภอ กิ่งอำเภอ ตำบลและหมู่บ้าน
3. ส่งเสริม สนับสนุนและกำกับดูแลการจัดการศึกษา
4. ดำเนินการเกี่ยวกับการสื่อสารระหว่างจังหวัดและอำเภอ กิ่งตำบล หมู่บ้าน
5. ไม่มีข้อใดถูก
65. ข้อใดมิใช่ภารกิจหลักของกรมการปกครอง..
1. ส่งเสริมอาชีพและความเป็นอยู่ของประชาชน
2. การทะเบียนและบัตรประจำตัวประชาชน
3. การส่งเสริมการปกครองส่วนภูมิภาคและท้องถิ่น
4. การป้องกันและรักษาความมั่นคงภายในประเทศและนอกประเทศ
5. การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
66. ข้อใดมิใช่นโยบายเน้นหนักของกรมการปกครอง ปี 2539
1. พัฒนาการเมืองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข
2. ปรับปรุงการบริหารราชการโดยวิธีพัฒนาระบบและลดขั้นตอนการปฏิบัติ
3. พัฒนาระบบป้องกันภัยฝ่ายพลเรือนให้สามารถแก้ไขปัญหาของประชาชนอย่างมีประสิทธิภาพ
4. พัฒนาการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นให้มีประสิทธิภาพ
5. สนับสนุนการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้มีประสิทธิภาพ
67. หน่วยงานที่ทำหน้าที่รับผิดชอบโดยตรงในการพัฒนาบุคลากรของกรมการปกครอง คือ
1. สำนักงานเลขานุการกรม 2. กองวิชาการและแผนงาน
3. กองเจ้าหน้าที่ 4. วิทยาลัยการปกครอง
5. ถูกทุกข้อ
68. นโยบายกรมการปกครอง พ.ศ.2535 - 2539 ด้านการเมือง การปกครอง และการบริหารในข้อใดที่มาเป็น นโยบายเน้นหนักของกรมการปกครอง ปี 2539
1. ปรับปรุงบริหารการเลือกตั้งทุกระดับให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย
2. ปรับปรุงอำเภอให้เป็นหน่วยงานหลัก สามารถบริการประชาชนได้สะดวก รวดเร็ว และถูกต้อง
3. ส่งเสริมและสนับสนุนการเมือง การปกครอง การบริหารในระดับท้องถิ่นในระบอบประชาธิปไตย โดยการ กระจายอำนาจให้หน่วยการปกครองท้องถิ่นมีอิสระทางการเงิน การคลัง และการกำหนด นโยบายของตนมาก ขึ้น
4. ถูกเฉพาะข้อ 2 และ 3 5. ถูกทุกข้อ
69. ข้อใดไม่ใช่นโยบายกรมการปกครองปัจจุบัน
1. นโยบายด้านการปกครอง การบริหารและการเมือง
2. นโยบายด้านการรักษาความสงบเรียบร้อยและเสริมสร้างความมั่นคงภายใน
3. นโยบายด้านการพัฒนาชนบทและการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
4. นโยบายด้านการพัฒนาคน พัฒนาเมืองและการกระจายความเจริญไปสู่ภูมิภาค
5. ไม่มีข้อใดถูก
70. การพัฒนาเมืองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ดำเนินการโดย
1. ส่งเสริมการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน
2. ศึกษา ปรับปรุงแก้ไขกฎหมายเลือกตั้งทุกระดับ
3. อำนวยการเลือกตั้งทุกระดับให้เกิดประสิทธิภาพ
4. รณรงค์ในทางการเมืองเพื่อการต่อต้านซื้อสิทธิขายเสียง
5. ถูกหมดทุกข้อ
71. การปรับปรุงการทะเบียนและบัตรประจำตัวประชาชนให้มีประสิทธิภาพ สามารถบริการประชาชนได้อย่าง รวดเร็ว ถูกต้อง ทันสมัยและรัดกุม รวมอยู่ในนโยบายกรมการปกครองด้านใด
1. นโยบายการพัฒนาเมืองและพื้นที่เศรษฐกิจใหม่
2. นโยบายการปกครอง การบริหารการเมือง
3. นโยบายการรักษาความสงบเรียบร้อยและเสริมสร้างความมั่นคงภายใน
4. นโยบายการพัฒนาสังคม
5. ไม่มีข้อใดถูก
72. กรมการปกครองมีนโยบายสนับสนุนการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้มีประสิทธิภาพอย่างไร
1. สนับสนุนแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมในเขตเมือง
2. รณรงค์ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนเห็นคุณค่าในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมทั้งในเขต เมืองและชนบท
3. ใช้มาตรการทางกฎหมายอย่างเคร่งครัดในการป้องกันและปราบปรามผู้บุกรุกทำลายป่าไม้ แร่ธาตุ ภูเขา แม่น้ำ ที่ดิน ฯลฯ
4. ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3
5. ไม่มีข้อใดถูก
73. นโยบายกรมการปกครองปี 2539 ระบุให้มีการปรับปรุงระบบบริการประชาชนด้านการทะเบียนและบัตร ประจำตัวประชาชน โดยด้านการขอทำบัตรประชาชนจำดำเนินการออกบัตรฯ ให้เสร็จภายในไม่เกินกี่วัน
1. 15 วัน 2. 16 วัน
3. วัน 4. 18 วัน
5. 19 วัน
74. ตามพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พุทธศักราช 2547 กำหนดว่า บ้าน หมายความว่าเรือนหลังเดียวก็ตาม หลายหลังก็ตาม ซึ่งในเขตที่มีเจ้าของเป็นอิสระส่วน 1 ข้อใดที่นับว่าเป็นบ้านตามพระราชบัญญัตินี้
1. วัด 2. โรงเรียน
3. แพ 4. เรือนจำ
5. ถูกทุกข้อ
75. นายกนก ได้รับเลือกเป็นผู้ใหญ่บ้านเมื่อวันที่ 1 มกราคม 2535 นายกนก จะต้องออกจากตำแหน่งตามวาระเมื่อใด
1. อยู่ในตำแหน่งครบ 4 ปี 2. อยู่ในตำแหน่งครบ 5 ปี
3. อยู่ในตำแหน่งจนครบ 60 ปีบริบูรณ์ 4. ตาย
5. อยู่ในตำแหน่งครบ 60 ปี
76. ข้อใดที่ไม่ได้กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ. 2457
1. ว่าที่ผู้ใหญ่บ้าน 2. หมู่บ้านชั่วคราว
3. กรรมการหมู่บ้าน 4. สภาตำบล
5. สารวัตรกำนัน
77. ข้อใดไม่ใช่อำนาจหน้าที่ของผู้ใหญ่บ้าน
1. ฝึกหัดอบรมให้คนไทยรู้จักหน้าที่และการกระทำในเวลารบ
2. กระทำตนให้เป็นตัวอย่างแก่ราษฎร ตามที่ทางราชการได้แนะนำ
3. จัดให้มีการประชุมกรรมการหมู่บ้าน....
4. แต่งตั้งผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน ของหมู่บ้านซึ่งเป็นผู้ใหญ่บ้าน
5. จัดการป้องกันโรคติดต่อ หรือโรคระบาดซึ่งเกิดขึ้น หรือจะเกิดขึ้นในหมู่บ้าน
78. ถ้ากำนันทำการในหน้าที่ไม่ได้ชั่วคราวในช่วงเวลาใด ให้มอบอำนาจและหน้าที่ไว้แก่ผู้ใด
1. ผู้ใหญ่บ้านคนใดคนหนึ่งในตำบลเดียวกัน 2. สารวัตรกำนัน
3. แพทย์ประจำตำบล
4. ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านของหมู่บ้านที่กำนันดำรงตำแหน่ง
5. ปลัดอำเภอผู้รับผิดชอบประจำตำบล
79. ผู้ใดสามารถได้รับเลือกเป็นผู้ใหญ่บ้าน
1. น.ส. ก. อาชีพพนักงานเทศบาล 2. นาง ข. อายุ 59 ปี 11 เดือน
3. นาย ค. อดีตผู้ใหญ่บ้านที่ย้ายทะเบียนไปอยู่หมู่บ้านอื่น
4. นาย ง. สัญชาติจีน 5. สามเณร จ. เปรียญ 3 ประโยค
80. ในการเลือกผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ 1 ปรากฏว่ามีราษฎรมาใช้สิทธิเพียง ร้อยละ 10 ของผู้มีสิทธิ และปรากฏว่าราษฎร ที่มาใช้สิทธิเลือกนาย ก. 75 คะแนน เลือกนาย ข. 76 คะแนน การเลือกผู้ใหญ่บ้านครั้งนี้ถือว่า
1. นาย ก. ได้รับเลือกเป็นผู้ใหญ่บ้าน 2. นาย ข. ได้รับเลือกเป็นผู้ใหญ่บ้าน
3. ถือเป็นโมฆะ ต้องเลือกใหม่
4. นาย ก. และนาย ข. ต้องจับฉลากว่าใครจะได้รับเลือกเป็นผู้ใหญ่บ้าน
5. นายอำเภอต้องตัดสินว่าใครควรจะเป็นผู้ใหญ่บ้าน
81. ผู้มีสิทธิรับเลือกตั้งเป็นกำนัน คือ
1. ผู้ใหญ่บ้านในตำบลนั้น 2. ราษฎรผู้มีสิทธิเลือกผู้ใหญ่บ้าน
3. ผู้ใหญ่บ้าน และสารวัตรกำนันในตำบลนั้น
4. สารวัตรกำนัน และแพทย์ประจำตำบลในตำบลนั้น
5. ถูกทุกข้อ
82. วาระดำรงตำแหน่งของสมาชิกสภาจังหวัด
1. วาระ 5 ปี 2. วาระ 6 ปี
3. วาระ 4 ปี 4. วาระ 3 ปี
5. จนอายุครบ 60 ปี
83. นับแต่มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาจังหวัดเสร็จ จะต้องมีการประชุมสภาจังหวัดครั้งแรกภายใน
1. ภายใน 90 วัน 2. ภายใน 60 วัน
3. ภายใน 120 วัน 4. ภายใน 15 วัน
5. ภายใน 45 วัน
84. องค์การบริหารส่วนจังหวัด จะทำกิจกรรมนอกเขตต้องได้รับอนุมัติจาก
1. ผู้ว่าราชการจังหวัด 2. นายอำเภอ
3. ปลัดจังหวัด 4. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
5. ประธานสภาจังหวัด
85. ผู้มีอำนาจยุบสภาจังหวัดคือ
1. นายกรัฐมนตรี 2. ผู้ว่าราชการจังหวัด
3. ประธานสภาจังหวัด 4. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
5. สมาชิกสภาจังหวัดเกินกึ่งหนึ่ง
86. งบประมาณประจำปีขององค์การบริหารส่วนจังหวัด คือ
1. พระราชบัญญัติ 2. ข้อบัญญัติจังหวัด
3. ข้อบังคับจังหวัด 4. ร่างงบประมาณจังหวัด
5. เทศบัญญัติ
87. ผู้ปกครองบังคับบัญชาข้าราชการส่วนจังหวัด รองจากผู้ว่าราชการจังหวัด คือ
1. รองผู้ว่าราชการจังหวัด 2. ปลัดจังหวัด
3. นายอำเภอ 4. ประธานสาจังหวัด
5. เลขานุการจังหวัด
88 ผู้ว่าราชการจังหวัด และหัวหน้าส่วนราชการจังหวัด มีหน้าที่
1. เข้าประชุมสภาจังหวัด และไม่มีสิทธิออกเสียงลงคะแนน
2. เข้าประชุมสภาจังหวัด และมีสิทธิออกเสียงลงคะแนน
3. ห้ามเข้าประชุมสภาจังหวัด และห้ามออกเสียงลงคะแนน
4. ห้ามประชุมสภาจังหวัด แต่มีสิทธิออกเสียงลงคะแนน
5. ผิดหมดทุกข้อ
89. กรณีสมาชิกสภาจังหวัดว่างลง และอาจไม่ต้องเลือกสมาชิกสภาจังหวัดเข้ามาแทนที่ต้องเป็นกรณีกำหนดออก ตามวาระที่เหลือไม่เกิน
1. 120 วัน 2. 90 วัน 3. 60 วัน 4. 45 วัน 5. 180 วัน
90. การจัดตั้งเทศบาลให้กระทำได้โดย
1. ตราเป็นพระราชบัญญติ 2. ตราเป็นพระราชกฤษฎีกา
3. ตราเป็นพระราชกำหนด 4. ออกประกาศกระทรวงมหาดไทย
5. ออกเป็นเทศบัญญัติประกาศจัดตั้ง
91. สภาเทศบาลเมืองมีสมาชิกจำนวน
1. 18 คน 2. 24 คน 3. 12 คน 4. 16 คน 5. 9 คน
92. การจัดตั้งเทศบาลนครต้องมีหลักเกณฑ์ ดังนี้
1. ประชากร 10,000 คน และความหนาแน่นไม่น้อยกว่า 3,000 คนต่อตารางกิโลเมตร
2. ประชากร 30,000 คน และความหนาแน่นไม่น้อยกว่า 3,000 คนต่อตารางกิโลเมตร
3. ประชากร 50,000 คน และความหนาแน่นไม่น้อยกว่า 3,000 คนต่อตารางกิโลเมตร
4. มีประชากรตั้งแต่ 50,000 คน โดยไม่คำนึงถึงความหนาแน่น
5. ประชากร 10,000 คน โดยไม่คำนึงความหนาแน่น
93. กรณีเทศบาลเมืองซึ่งสามารถมีเทศมนตรี เพิ่มขึ้นอีกคน จะต้องมีรายได้การจัดเก็บตั้งแต่
1. 10 ล้านบาทขึ้นไป 2. 30 ล้านบาทขึ้นไป
3. 15 ล้านบาทขึ้นไป 4. 20 ล้านบาทขึ้นไป
5. 50 ล้านบาทขึ้นไป
94. สถานะของกำนัน ผู้ใหญ่บ้านในพื้นที่ที่มีการจัดตั้งเป็นเทศบาลจะเปลี่ยนไป คือ
1. แปรสภาพเป็นสมาชิกสภาตำบล 2. ให้หมดอำนาจหน้าที่เฉพาะพื้นที่ที่จัดตั้งเทศบาล
3. ให้กำนัน ผู้ใหญ่บ้านเป็นคณะรัฐมนตรีชั่วคราว
4. ให้กำนันเป็นนายกเทศมนตรีชั่วคราว
5. ผิดหมดทุกข้อ
95. สุขาภิบาลที่มีฐานะการคลังเพียงพอคือ
1. สุขาภิบาลที่มีรายได้ไม่รวมเงินอุดหนุนตั้งแต่ 5 ล้านบาทขึ้นไป
2. สุขาภิบาลที่มีรายได้โดยไม่รวมเงินอุดหนุนตั้งแต่ 1 ล้านบาทขึ้นไป
3. สุขาภิบาลที่มีรายได้โดยไม่รวมเงินอุดหนุนตั้งแต่ 3 ล้านบาทขึ้นไป
4. สุขาภิบาลที่มีรายได้โดยไม่รวมเงินอุดหนุนตั้งแต่ 9 ล้านบาทขึ้นไป
5. สุขาภิบาลที่มีรายได้โดยไม่รวมเงินอุดหนุนตั้งแต่ 15 ล้านบาทขึ้นไป
96. กรรมการสุขาภิบาลมิได้มาจากการเลือกตั้งคือ
1. กำนัน ผู้ใหญ่บ้านในพื้นที่สุขาภิบาล 2. กำนันในพื้นที่สุขาภิบาล
3. กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และแพทย์ประจำตำบล 4. นายอำเภอ ปลัดอำเภอผู้ซึ่งเป็นปลัดสุขาภิบาลและ กำนัน
5. กำนัน และนายอำเภอ
97. การเปลี่ยนแปลงเขตสุขาภิบาล หรือยุบสุขาภิบาลให้กระทำโดย
1. ประกาศกระทรวงมหาดไทย 2. ประกาศพระราชกฤษฎีกา
3. ประกาศจังหวัด 4. ข้อบังคับสุขาภิบาล
5. พระราชบัญญัติ
98. ผู้ที่จะเป็นประธานสุขาภิบาลแทนนายอำเภอ เมื่อสุขาภิบาลมีฐานะการเพียงพอคือ
1. ปลัดสุขาภิบาล 2. กำนันในพื้นที่
3. กรรมการสุขาภิบาลที่ได้รับเลือก 4. ปลัดจังหวัด
5. รองประธานกรรมการสุขาภิบาล
99. การประชุมสุขาภิบาลกำหนดให้มี
1. ไม่น้อยกว่าเดือนละ 2 ครั้ง 2. ไม่น้อยกว่าสัปดาห์ละครั้ง
3. ไม่น้อยกว่าเดือนละครั้ง 4. ตามแต่ประธานสุขาภิบาลจะเห็นสมควร
5. ไม่น้อยกว่าปีละ 2 ครั้ง
100. ถ้าการลงคะแนนเสียงตามมติต่างๆ มีคะแนนเสียงของกรรมการสุขาภิบาลเท่ากันให้ปฏิบัติโดย
1. ให้ประธานกรรมการสุขาภิบาลสั่งปิดประชุม แล้วนัดประชุมใหม่
2. ให้ประธานกรรมการสุขาภิบาลเป็นผู้ลงเสียงชี้ขาด
3. ให้มีการลงคะแนนเสียงใหม่อีกครั้ง...
4. ให้นับเฉพาะเสียงกรรมการที่มาจากการเลือกตั้งเท่านั้น
5. ประธานกรรมการสุขาภิบาล ต้องงดใช้สิทธิออกเสียง
101. การเปลี่ยนแปลงแผนดำเนินงานของสุขาภิบาลที่วางไว้ต้อง
1. ได้รับความเห็นชอบจากนายอำเภอ
2. ได้รับความเห็นชอบจากประธานกรรมการสุขาภิบาล
3. กรรมการสุขาภิบาลไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งให้ความเห็นชอบ
4. ต้องได้รับอนุมัติจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
5. ต้องได้รับอนุมัติจากผู้ว่าราชการจังหวัด
102. สุขาภิบาลมีฐานะ
1. ราชการบริหารส่วนท้องถิ่น แต่ไม่เป็นนิติบุคคล 2. ราชการบริหารส่วนท้องถิ่น และเป็นนิติบุคคล
3. ราชการบริหารส่วนตำบล และเป็นนิติบุคคล 4. เป็นนิติบุคคล แต่ไม่เป็นราชการบริหารส่วนท้องถิ่น
5. ผิดหมดทุกข้อ
103. องค์การบริหารส่วนตำบลมีอำนาจออกกฎหมายเรียกว่า
1. ข้อบัญญัติตำบล 2. ข้อบังคับตำบล
3. พระราชบัญญัติ 4. พระราชกำหนด
5. เทศบัญญัติ
104. เลขานุการสภาตำบล แต่งตั้งจาก
1. ประชาชนในตำบล 2. ปลัดอำเภอ
3. พัฒนากร 4. ข้าราชการที่ปฏิบัติงานในตำบล
5. ถูกทุกข้อ
105. สภาตำบลตามพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ.2537 มีฐานะเป็น
1. หน่วยการปกครองท้องถิ่น 2. นิติบุคคล
3. ทบวงการเมือง 4. ราชการส่วนภูมิภาค
5. ถูกทุกข้อ
106. สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล อยู่ในภาวะกี่ปี
1. 3 ปี 2. 2 ปี 3. 4 ปี 4. 5 ปี 5. ผิดทุกข้อ
107. ตามบทเฉพาะกาล ในภาวะเริ่มแรกของพระราชบัญญัติสภาตำบล พ.ศ. 2537 บุคคลใดเป็นประธาน กรรมการบริหารองค์การบริหารส่วนตำบล
1. กำนัน 2. ผู้ใหญ่บ้าน
3. แพทย์ประจำตำบล 4. ผู้ทรงคุณวุฒิ
5. ผิดทุกข้อ
108. ผู้มีสิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล ข้อใดถูกที่สุด
1. มีสัญชาติไทย และมีอายุไม่ต่ำกว่า 20 ปีบริบูรณ์
2. มีสัญชาติไทย และมีอายุไม่ต่ำกว่า 20 ปีบริบูรณ์ในวันเลือกตั้ง
3. มีสัญชาติไทย และมีอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์ในวันที่ 1 มกราคม ของปีที่มีการเลือกตั้ง
4. มีสัญชาติไทย และมีอายุไม่ต่ำกว่า 25 ปีบริบูรณ์
5. ผิดทุกข้อ
109. เมื่อฝ่ายหญิงฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งตกอยู่ในอันตรายใกล้ความตายและได้แสดงเจตนาจะสมรสกันต่อหน้าพยานที่มี อยู่ ณ ที่นั้น ต่อมานายทะเบียนได้รับจดทะเบียนการสมรสให้แล้ว การสมรสดังกล่าวมีผลสมบูรณ์ตั้งแต่ เมื่อใด
1. วันที่ชายและหญิงเจตนาจะสมรสกัน 2. 60 วัน นับแต่วันที่ชายและหญิงแสดงเจตนาจะสมรส กัน
3. วันที่ชายหญิงประสงค์จะให้มีผล 4. วันที่นายทะเบียนรับจดทะเบียนให้
5. การสมรสดังกล่าวเป็นโมฆะ
110. บุคคลต่อไปนี้ ผู้ใดไม่สามารถทำพินัยกรรมได้
1. ผู้เยาว์อายุ 16 ปี และไม่ได้รับความยินยอมจากบิดามารดา
2. บุคคลที่เป็นใบ้ หูหนวกทั้ง 2 ข้าง
3. บุคคลซึ่งศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ
4. บุคคลซึ่งศาลสั่งให้เป็นคนเสมือนไร้ความสามารถ
5. ถูกทุกข้อ
111. ที่ดินของศาลเจ้าที่ที่ขึ้นทะเบียนอยู่ในความควบคุมดูแลของทางราชการ ตามกฎเสนาบดีว่าด้วยกุศลสถานชนิด ศาลเจ้า พ.ศ. 2463 คำที่ขีดเส้นใต้ หมายถึงหน่วยงานใด
1. กรมที่ดิน 2. สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย
3. กรมการปกครอง 4. สำนักนายกรัฐมนตรี
5. ข้อ 2. และข้อ 3. ถูก
112. สังหาริมทรัพย์ต่อไปนี้ ข้อใดไม่สามารถทำนิติกรมจำนองได้
1. เรือกำปั่นหรือเรือที่มีระวางตั้งแต่หกตันขึ้นไป
2. เรือกลไฟหรือเรือยนต์ที่มีระวางตั้งแต่ห้าตันขึ้นไป 3. สัตว์พาหนะ
4. แพ 5. เรือลำน้ำที่มิใช่เรือกลขนาดตั้งแต่หกตันขึ้นไป
113. สัตว์พาหะต่อไปนี้ ข้อใดไม้ต้องจดทะเบียนทำตั๋วรูปพรรณ
1. ช้างที่มีอายุย่างเข้าปีที่ 8 2. สัตว์อื่น ๆ นอกจากโคตัวเมีย มีอายุย่างเข้าปีที่ 6
3. สัตว์ใดที่ใช้ขับขี่ ลาก เข็น หรือใช้งานแล้ว
4. สัตว์ที่มีอายุย่างเข้าปีที่ 4 เมื่อจะนำออกนอกราชอาณาจักร
5. โคตัวตัวเมียมีอายุย่างเข้าปีที่ 5 เมื่อจะทำการโอนกรรมสิทธิ์ เว้นแต่ในกรณีรับมรดก
114. บุคคลต่อไปนี้ ผู้ใดได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเจ้าพนักงานออกบัตรตามกฎหมายว่าด้วยบัตรประจำตัวประชาชน
1. ผู้อำนวยการส่วนบัตรประจำตัวประชาชน 2. ผู้อำนวยการสำนักบริหารการทะเบียน
3. ผู้อำนวยการกองการทะเบียน 4. รองอธิบดีกรมการปกครองฝ่ายบริหารราชการทั่วไป
5. รองอธิบดีกรมการปกครองฝ่ายราชการบริหารส่วนภูมิภาค
115. การแจ้งความบัตรหาย เจ้าของบัตรสามารถแจ้งต่อเจ้าพนักงานสอบสวนผู้มีอำนาจรับแจ้ง ณ สถานที่ใด
1. ถ้าบัตรหายในท้องที่อำเภอ ให้แจ้ง ณ ที่ว่าการอำเภอหรือสถานีตำรวจภูธรอำเภอ ท้องที่ที่บัตรหาย
2. ถ้าบัตรหายในท้องที่กิ่งอำเภอ ให้แจ้ง ณ ที่ว่าการอำเภอหรือที่ว่าการอำเภอในท้องที่ที่กิ่งอำเภอนั้นตั้งอยู่
3. ถ้าบัตรหายในท้องที่เขต ให้แจ้ง ณ ที่สำนักงานหรือสถานีตำรวจนครบาล ท้องที่ที่บัตรหาย
4. ถ้าบัตรหายในท้องที่เทศบาล ให้แจ้ง ณ ที่สำนักงานเทศบาลหรือที่ว่าการอำเภอ ท้องที่ที่บัตรหาย
5. ถูกทุกข้อ
116. ข้อใดต่อไปนี้ ข้อใดคือ บ้าน ตามความหมายใน พ.ร.บ. การทะเบียนราษฎร พ.ศ. 2534
1. รถยนต์ 2. เรือแพ ซึ่งจอดเป็นประจำ และใช้เป็นที่อยู่ประจำ
3. ศาลารอรถประจำทาง 4. โรงเรือนสำหรับใช้เก็บสารเคมี
5. ไม่มีข้อใดถูก
117. เมื่อมีการปลูกสร้างบ้าน เจ้าบ้านจะต้องแจ้งต่อนายทะเบียนผู้รับแจ้ง เพื่อขอเลขประจำบ้านภายในกี่วัน
1. ภายใน 15 วันนับแต่วันที่สร้างบ้านเสร็จ 2. ภายใน 15 วันนับแต่วันปลูกสร้างบ้าน
3. ภายใน 30 วัน นับแต่วันสร้างบ้านเสร็จ 4. ภายใน 30 วันนับแต่วันปลูกสร้างบ้าน
5. ข้อ 1. และข้อ 2. ถูก
118. นายทะเบียน ตามพระราชบัญญัติทะเบียนราษฎร พ.ศ. 2534 ได้แก่บุคคลในข้อใด
1. ผู้อำนวยการทะเบียนกลาง 2. นายทะเบียนจังหวัด
3. ผู้ช่วยนายทะเบียนท้องถิ่น 4. นายทะเบียนผู้รับแจ้ง
5. ถูกทุกข้อ
119. บุคคลใดต่อไปนี้ บุคคลใดคือนายทะเบียนท้องถิ่น
1. ผู้อำนวยการเขต 2. ปลัดเทศบาล
3. นายอำเภอ 4. ข้อ 1. และข้อ 2. ถูก
5. ข้อ 1. และข้อ 3. ถูก
120. คนเกิดในบ้าน ผู้ที่มีหน้าที่แจ้งการเกิดต่อนายทะเบียน คือ
1. เจ้าบ้าน 2. บิดา
3. มารดา 4. บิดาหรือมารดา
5. เจ้าบ้าน หรือบิดา หรือมารดา

*********************************************************



เฉลยข้อสอบแข่งขันเพื่อบรรจุบุคคลเข้ารับราชการในสังกัดกรมการปกครอง
ตำแหน่งเจ้าพนักงานปกครอง 3 และเจ้าพนักงานปกครอง 4
(ภาคความรู้ความสามารถที่ใช่เฉพาะตำแหน่ง)

(เป็นคำตอบ ณ ปีนั้น)


1) 2 2) 1 3) 4 4) 4 5) 4
6) 3 7) 3 8) 4 9) 1 10) 4
11) 2 12) 4 13) 3 14) 3 15) 3
16) 2 17) 1 18) 1 19) 4 20) 5
21) 2 22) 2 23) 4 24) 3 25) 4
26) 2 27) 3 28) 2 29) 4 30) 4
31) 3 32) 5 33) 4 34) 5 35) 4
36) 3 37) 5 38) 5 39) 2 40) 3
41) 4 42) 4 43) 3 44) 4 45) 5
46) 2 47) 4 48) 2 49) 5 50) 2
51) 1 52) 5 53) 2 54) 5 55) 3
56) 2 57) 2 58) 4 59) 4 60) 1
61) 1 62) 2 63) 5 64) 5 65) 4
66) 2 67) 4 68) 5 69) 5 70) 5
71) 2 72) 4 73) 1 74) 5 75) 5
76) 4 77) 4 78) 1 79) 2 80) 2
81) 1 82) 1 83) 4 84) 1 85) 4
86) 2 87) 2 88) 1 89) 5 90) 2
91) 1 92) 3 93) 4 94) 2 95) 1
96) 5 97) 1 98) 3 99) 3 100) 2
101) 5 102) 2 103) 2 104) 5 105) 2
106) 3 107) 1 108) 3 109) 1 110) 3
111) 3 112) 5 113) 5 114) 1 115) 2
116) 2 117) 1 118) 5 119) 4 120) 5

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

กด LIKE แล้วติดตามการอัพเดตได้ในหน้าแรกFACEBOOK ตลอด

ร่วมกดไลค์เพื่อแชร์ไปให้เพื่อนๆทุกคน